NOOPRAEW

ไม่มีใครรักเราเท่าพ่อกับแม่

โครงสร้างผังงานการทำงานแบบเลือกทำ หรือ แบบมีเงื่อนไข

ผังงานการทำงานแบบเลือกทำ หรือ แบบมีเงื่อนไข

•การทำงานแบบเลือกทำ
ลักษณะการทำงานของขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา นอกจากขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับแล้ว ยังมีขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำ การเขียนขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำใช้สำหรับกรณีที่ต้องการเลือกวิธีการทำงานสำหรับการแก้ไขปัญหา ที่เหมาะสมกับลักษณะข้อมูลในขณะนั้น การเขียนขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำได้รับการพัฒนามาจากโครงสร้างผังงานการเลือกทำ เมื่อได้ทำการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความแล้ว จากนั้นจึงทำการเปลี่ยนให้เป็นรหัสเทียม และโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ต่อไป

•การเขียนขั้นตอนวิธีสำหรับการทำงานแบบเลือกทำ
การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำงานแบบเลือกทำ โดยใช้คำอธิบายคือ คำว่า “ถ้า” “แล้วทำ” และ “มิฉะนั้นแล้ว”
ScreenHunter_2

•การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงาน เริ่มต้นด้วยคำอธิบาย “ถ้า” ตามด้วยเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตัดสินใจที่อยู่ภายในสัญลักษณ์ผังงานการตัดสินใจ ถัดจากนั้นเป็นคำอธิบาย “แล้วทำ” จากนั้นเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานทุกขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำ สำหรับกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง จากนั้นใช้คำอธิบายว่า “มิฉะนั้นแล้ว” ตามด้วยขั้นตอนวิธีการทำงานทุกขั้นตอนการทำงานที่ต้องการสำหรับกรณีที่เงื่อนไขเป็นเท็จ
จากผังงานในรูป สามารถเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานได้ดังนี้

•1. ถ้า Condition แล้วทำ
1.1 Process 1
มิฉะนั้นแล้ว
1.2 Process 2

ตัวอย่างที่ 1 การเปลี่ยนจากผังงานเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ
ScreenHunter_3

•การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานจากผังงาน สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือ การแยกกระบวนการการทำงานทั้งหมดของผังงาน วิธีการแยกกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานแต่ละกระบวนการสามารถทำได้ดังนี้ คือ พิจารณาที่ทิศทางเข้าและทิศทางออกของขั้นตอนการทำงาน โดยทำทีละขั้นตอนหรือกระบวนการทำงานที่มีทิศทางเข้าและทิศทางออกเพียงอย่างละหนึ่งทิศทางเท่านั้น เช่นเดียวกับการทำงานแบบลำดับ

•จากผังงานในรูป การทำงานสำหรับกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง มีขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนการทำงานที่ต้องทำจำนวน 2 กระบวนการทำงาน คือ รับค่าของตัวแปร A และ B อีกกระบวนการทำงานหนึ่งคือ การคำนวณค่าของ X เท่ากับ A + B สำหรับกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ มีขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนการทำงานที่ต้องทำจำนวน 2 กระบวนการทำงานเช่นกัน คือ การคำนวณค่าของ X เท่ากับ X + 10 และแสดงค่าของตัวแปร X

•จากส่วนของผังงานที่มีโครงสร้างการทำงานแบบเลือกทำ สามารถทำการเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ ได้ดังนี้
•1. ถ้า X > 5 แล้วทำ
1.1 รับค่า A , B
1.2 คำนวณค่าของ X เท่ากับ A + B
มิฉะนั้นแล้ว
1.3 คำนวณค่าของ X เท่ากับ X +10
1.4 แสดงค่าของ X

•การเขียนผังงานที่มีโครงสร้างผังงานแบบเลือกทำ ไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนการทำงานครบทั้ง 2 กรณีคือ กรณีที่เงื่อนไขเป็นจริง หรือ เป็นเท็จ บางครั้งอาจเขียนผังงานออกมาในลักษณะที่มีขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำเพียงกรณีเดียว คือ กรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง ส่วนกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ ไม่มีขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำ

•การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับผังงานที่มีลักษณะการทำงานดังกล่าว จะทำการตัดส่วนของคำอธิบาย “มิฉะนั้นแล้ว” ทิ้งไป วิธีการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงาน สามารถทำได้ดังนี้ คือ ขึ้นต้นด้วยคำอธิบาย “ถ้า” ตามด้วยเงื่อนไขที่ใช้พิจารณาการตัดสินใจ จากนั้นเขียนคำอธิบายว่า “แล้วทำ” ถัดจากนั้นเป็นลำดับขั้นคอนการทำงานที่ต้องทำกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง ถ้าจบการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานสำหรับการทำงานแบบเลือกทำในส่วนนั้น
ตัวอย่างที่ 2 การเปลี่ยนจากส่วนของผังงานให้เป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของ ข้อความ
ScreenHunter_4

•จากส่วนของผังงานในตัวอย่างที่ 2 การทำงานหลังจากการพิจารณาเงื่อนไขที่ใช้สำหรับการตัดสินใจ กรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง มีขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนการทำงานที่ต้องทำ จำนวน 2 การทำงาน คือ รับค่าของ A และ B ส่วนอีกการทำงานหนึ่งคือ การคำนวณค่าโดยให้ค่าของ X มีค่าเท่ากับ A2 + B2 ส่วนกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ ไม่มีขั้นตอนการทำงานใดที่ต้องทำ สามารถทำการเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานได้ดังนี้
1. ถ้า N > 0 แล้วทำ
1.1 รับค่าของ A และ B
1.2 คำนวณค่าของ X เท่ากับ A2 + B2
ตัวอย่างที่ 3 การเปลี่ยนจากส่วนของผังงานให้เป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ
ScreenHunter_5

•จากผังงานในตัวอย่างที่ 3 เมื่อพิจารณาจำนวนกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการทำงานหลักของผังงาน มีกระบวนการทำงานทั้งหมด 5 การทำงาน โดยในขั้นตอนการทำงานที่ 3 เป็นลักษณะของโครงสร้างผังงานแบบเลือกทำ สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความได้ดังนี้

•1. เริ่มต้นการทำงาน
2. รับค่าของ A และ B
3. ถ้า A มากกว่า B แล้วทำ
3.1 คำนวณค่าของ Num เท่ากับ A – B
มิฉะนั้นแล้ว
3.2 คำนวณค่าของ Num เท่ากับ B – A
4. แสดงค่าของ Num
5. จบการทำงาน
ตัวอย่างที่ 4 จากผังงานการหาข้อมูลที่มากที่สุดระหว่างข้อมูล จำนวน 3 ข้อมูลที่รับเข้ามา จากนั้นทำการแสดงค่าที่มากที่สุด
ScreenHunter_6

•จากผังงานในตัวอย่างที่ 4 สามารถแยกกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการทำงานหลักได้ 5 ขั้นตอนการทำงาน โดยขั้นตอนการทำงานที่ 3 เป็นโครงสร้างผังงานแบบเลือกทำ และมีโครงสร้างผังงานการเลือกทำซ้อนย่อยอยู่ภายใน สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ ได้ดังนี้
1. เริ่มต้น
2. รับค่า A , B , C
3. ถ้า A มากกว่า B แล้วทำ
3.1 ถ้า A มากกว่า C แล้วทำ
3.1.1 กำหนดค่าของ Max เท่ากับ A
มิฉะนั้นแล้ว
3.1.2 กำหนดค่าของ Max เท่ากับ C
มิฉะนั้นแล้ว
3.2 ถ้า B มากกว่า C แล้วทำ
3.2.1 กำหนดค่าของ Max เท่ากับ B
มิฉะนั้นแล้ว
3.2.2 กำหนดค่าของ Max เท่ากับ C
4. แสดงค่าของ Max
5. จบการทำงาน
ตัวอย่างที่ 5 การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความจากผังงาน

ScreenHunter_7

•จากผังงานสามารถแยกกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการทำงานหลักออกได้ทั้งหมด 5 การทำงาน ขั้นตอนการทำงานที่ 3 เป็นลักษณะโครงสร้างผังงานการเลือกทำ โดยการทำงานกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริง เป็นการทำงานแบบเลือกทำซ้อนย่อยอยู่ภายใน ส่วนกรณีที่ผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จ เป็นการทำงานแบบลำดับซ้อนอยู่ภายใน สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ ได้ดังนี้

•1. เริ่มต้นการทำงาน
2. รับค่า A , B
3. ถ้า A มากกว่า B แล้วทำ
3.1 ถ้า B มากกว่า 20 แล้วทำ
3.1.1 รับค่า A
3.1.2 คำนวณค่าของ B เท่ากับ B + 15
มิฉะนั้นแล้ว
3.1.3 รับค่า B
3.1.4 คำนวณค่าของ A เท่ากับ A + 10
3.2 คำนวณค่าของ A เท่ากับ A – B
มิฉะนั้นแล้ว
3.3 คำนวณค่าของ Num เท่ากับ A + B
3.4 แสดงค่าของ Num
3.5 คำนวณค่าของ A เท่ากับ A + 10
4. แสดงค่าของ A , B
5. จบการทำงาน
รหัสเทียมกับการทำงานแบบเลือกทำ

•รหัสเทียมสำหรับขั้นตอนวิธีการทำงานแบบเลือกทำ คือ รหัสเทียม “IF-THEN-ELSE” โดยใช้คำรหัสเทียมแทนข้อความอธิบาย ดังนี้

•รหัสเทียม “IF” แทนข้อความอธิบายว่า “ถ้า”

•รหัสเทียม “THEN” แทนข้อความอธิบายว่า “แล้วทำ”

•รหัสเทียม “ELSE” แทนข้อความอธิบายว่า “มิฉะนั้นแล้ว”

•รหัสเทียมสำหรับส่วนของขั้นตอนวิธีการทำงานที่ต้องทำ หลังจากการตรวจสอบเงื่อนไขใช้รหัสเทียมตามลักษณะการทำงานของขั้นตอนวิธีการทำงานนั้น คือ ถ้าเป็นการทำงานแบบลำดับ รหัสเทียมที่ใช้คือ รหัสเทียมสำหรับการทำงานแบบลำดับ ถ้าเป็นการทำงานแบบเลือกทำ รหัสเทียมที่ใช้คือ รหัสเทียมสำหรับการทำงานแบบเลือกทำ
ScreenHunter_8โครง

•การเขียนรหัสเทียมที่เป็นรหัสเทียมของการทำงานย่อย ภายในการทำงานแบบเลือกทำ จะใช้ย่อหน้าช่วยเพื่อให้เห็นชัดเจนว่า เป็นรหัสเทียมที่เป็นการทำงานย่อยของรหัสเทียมใด

ScreenHunter_9

•กรณีที่เขียนอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานไม่มีส่วนของคำอธิบาย “มิฉะนั้นแล้ว” การเขียนรหัสเทียมสำหรับการทำงานในกรณีนี้ จะไม่มีส่วนของรหัสเทียม “ELSE” จากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงาน ในลักษณะของข้อความต่อไปนี้
ScreenHunter_10

ตัวอย่างที่ 6 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ
ScreenHunter_11

ตัวอย่างที่ 7 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ
ScreenHunter_13</

ตัวอย่างที่ 8 การเขียนรหัสเทียมจากการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความ
ScreenHunter_14a>

ตัวอย่างที่ 9 ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง มีวิธีการให้ลูกค้าเลือกชำระเงินค่าสินค้าอยู่ 2 วิธีคือ
1. ซื้อสินค้าด้วยเงินสด ทางร้านค้าจะมีส่วนลดให้ 3% จากราคาสินค้า
2. ซื้อแบบผ่อนชำระ โดยทางร้านค้าจะคิดดอกเบี้ยอัตรา 1.5% ต่อเดือน โดยให้ลูกค้าเลือกจำนวนเดือนที่ต้องการจะผ่อนชำระ
ข้อมูลเข้า คือ ราคาสินค้า และวิธีการที่ลูกค้าต้องการเลือกซื้อสินค้า ถ้าลูกค้าต้องการซื้อด้วยวิธีที่ 1
ข้อมูลออกคือ ราคาสินค้าที่คิดส่วนลดเรียบร้อยแล้ว ถ้าเลือกวิธีที่ 2 ข้อมูลออกคือ จำนวนเงินที่ลูกค้าต้องผ่อนชำระเป็นรายเดือน
เมื่อ ราคาสินค้าคือ Price วิธีการผ่อนชำระคือ Choice จำนวนเดือนคือ Month จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคือ Payment

ScreenHunter_15

สามารถเขียนเป็นการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความได้ดังนี้
ScreenHunter_16

Leave a comment