NOOPRAEW

ไม่มีใครรักเราเท่าพ่อกับแม่


Leave a comment

วิธีการทำปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช เช่น ฟางข้า ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่าง ๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือพืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

2. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินทรายให้เป็นดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน

3. ช่วยสงวนรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีขึ้น

4. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี

5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้

6. ช่วยกระตุ้นให้ธาตุอาหารพืชบางอย่างในดินที่ละลายน้ำยากให้ละลายน้ำง่ายเป็นอาหารแก่พืชได้ดีขึ้น

7. ไม่เป็นอันตรายต่อดินแม้จะใช้ในปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ

8. ช่วยปรับสภาพแวดล้อม เช่น กำจัดขยะมูลฝอยและวัชพืชน้ำทั้งหลายให้หมดไป

วิธีการทำปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมักโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักในไร่นา ปุ๋ยหมักเทศบาลและปุ๋ยหมักอุตสาหกรรม ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะปุ๋ยหมักในไร่นา

สำหรับปุ๋ยหมักในไร่นานี้มีแบบวิธีการทำ 5 แบบ ซึ่งสามารถเลือกทำแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ หรืออาจจะทำหลาย ๆ แบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ทำ

แบบที่ 1 ปุ๋ยหมักค้างปี ใช้เศษพืชเพียงอย่างเดียวนำมาหมักทิ้งไว้ค้างปีก็สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักได้
แบบนี้ไม่ต้องดูแลรักษา จึงต้องใช้ระยะเวลาในการหมักนาน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา

แบบที่ 2 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้มูลสัตว์ แบบนี้ใช้เศษพืชและมูลสัตว์ในอัตรา 100:10 ถ้าเป็นเศษพืช
ชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย แต่ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนใหญ่นำมากองเป็นชั้น ๆ (แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำ สูงประมาณ 30-40 ซม. แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์) แบบนี้จะใช้ระยะเวลาหมักน้อยกว่าแบบที่ 1 เช่น ถ้าใช้ฟางข้าวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือน ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา
แบบที่ 3 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้ปุ๋ยเคมี แบบนี้ใช้เศษพืช มูลสัตว์ และปุ๋ยเคมีในอัตรา 100:10:1
ถ้าเป็นชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย ถ้าเป็นชิ้นส่วนใหญ่นำมากองเป็นชั้นเหมือนแบบที่ 2 เพียงแต่ในแต่ละชั้นจะเพิ่มปุ๋ยเคมีขึ้นมา โดยโรยทับมูลสัตว์ แบบนี้ใช้ระยะเวลาในการหมักเร็วกว่าแบบที่ 2 กล่าวคือถ้าเป็นฟางข้าวจะใช้เวลาประมาณ4-6 เดือน
แบบที่ 4 ปุ๋ยหมักแผนใหม่ การทำปุ๋ยหมักแบบที่ 1-3 นั้นใช้เวลาค่อนข้างมากต่อมากรมพัฒนาที่ดิน
ได้ศึกษาค้นคว้าพบว่าการทำปุ๋ยหมักโดยใช้เวลาสั้นทำได้โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายของเศษพืช ทำให้ได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้น นำไปใช้ได้ทันฤดูกาลสามารถใช้ระยะเวลาหมักเพียง 30-60 วัน ใช้สูตรดังนี้
เศษพืช
1,000

กก.
มูลสัตว์ 100-200 กก.
ปุ๋ยเคมี 1-2 กก.
เชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่ง 1 ชุด
(เชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่งในปี 2526-2527 ใช้เชื้อ บี 2 ชุดหนึ่ง ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์บี 2 จำนวน 2300 กรัม และอาหารเสริม 1 กก.) ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนเล็กก็นำเศษพืช มูลสัตว์ และปุ๋ยเคมีมาคลุกผสมเข้ากัน แล้วเจาะหลุมหยอดเชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่งซึ่งเตรียมไว้ก่อนโดยนำมาผสมน้ำ ใช้น้ำประมาณ 40 ลิตร กวนให้เข้ากันอย่างดี แต่ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนใหญ่ก็นำมากองเป็นชั้นเหมือนแบบที่ 3 แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำ สูง30-40 ซม.มูลสัตว์โรยทับเศษพืช ปุ๋ยเคมีโรยทับมูลสัตว์ แล้วราดเชื้อจุลินทรีย์ตัวเร่ง
แบบที่ 5 ปุ๋ยหมักต่อเชื้อ ในการทำปุ๋ยหมักแบบที่ 4 นั้น จำเป็นต้องซื้อสารตัวเร่งเชื้อจุลินทรีย์ 1 ชุด
ทุกครั้งที่ทำปุ๋ยหมัก 1 ตัน ทำให้มีแนวความคิดว่าหากสามารถนำ มาต่อเชื้อได้ก็จะเป็นการประหยัดและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ทำปุ๋ยหมักทั่วไป กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ทำการทดลองและพบว่า สามารถต่อเชื้อได้ โดยใช้ปุ๋ยหมักที่ทำในแบบที่ 4 กล่าวคือ หลังจากได้ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วในแบบที่ 4 ให้เก็บไว้ 50-100 กก. การเก็บต้องเก็บไว้ในโรงเรือนที่ไม่ถูกแดดและฝน ปุ๋ยหมักที่เก็บไว้ 50-100 กก. สามารถนำไปต่อเชื้อทำปุ๋ยหมักได้อีก 1 ตัน การต่อเชื้อนี้สามารถทำการต่อได้เพียง 3 ครั้ง
การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

หลังจากกองปุ๋ยหมักเสร็จแล้วจะต้องหมั่นตรวจดูแลกองปุ๋ยหมักอยู่เสมอโดยปฏิบัติดังนี้

1. จะต้องป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปทำลาย หรือคุ้ยเขี่ยกองปุ๋ยหมัก ถ้ากองแบบในคอกก็ไม่มีปัญหา
แต่ถ้ากองบนพื้นดินหรือในหลุมควรหาทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้วางทับกองปุ๋ยหมักไว้กันสัตว์คุ้ยเขี่ย
2. ทำการให้น้ำกองปุ๋ยหมักให้มีความชื้นพอเหมาะอยู่เสมอ คือ ไม่ให้แห้งหรือแฉะเกินไป
มีวิธีการตรวจอย่างง่ายๆ คือ เอามือสอดเข้าไปในกองปุ๋ยหมักให้ลึกๆ แล้วหยิบเอาชิ้นส่วนภายในกองปุ๋ยหมักมาบีบดู ถ้าปรากฏว่ามีน้ำติดฝ่ามือแสดงว่าความชื้นพอเหมาะไม่ต้องให้น้ำ ถ้าไม่มีน้ำติดฝ่ามือแสดงว่ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปต้องให้น้ำในระยะนี้ ถ้าบีบดูมีน้ำทะลักออกมาตามง่ามนิ้วมือ แสดงว่าแฉะเกินไปไม่ต้องให้น้ำ
3. การกลับกองปุ๋ย นับเป็นหัวใจสำคัญในการทำปุ๋ยหมักจะละเลยมิได้ เพราะเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
ก็ย่อมต้องการอากาศหายใจเหมือนมนุษย์ ดังนั้นการกลับกองปุ๋ยหมักนอกจากจะช่วยให้ออกซิเจนแก่จุลินทรีย์แล้ว ยังเป็นการระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ยอีกด้วย ยิ่งขยันกลับกองปุ๋ยหมักมากเท่าไรก็จะทำให้ได้ปุ๋ยหมักใช้เร็วมากขึ้นเท่านั้น เพราะทำให้เศษพืชย่อยสลายทั่วทั้งกอง และได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีอีกด้วย ตามปกติควรกลับกองปุ๋ยหมักอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
หลักในการพิจารณาว่ากองปุ๋ยหมักนั้นใช้ได้หรือยัง

เมื่อกองปุ๋ยหมักเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีทั้งที่มองเห็นได้และที่มองเห็นไม่ได้ ที่มองเห็นได้ก็คือ ชิ้นส่วนของพืชจะมีขนาดเล็กลงและยุบตัวลงกว่าเมื่อเริ่มกอง สีของเศษพืชก็จะเปลี่ยนไป ส่วนที่มองเห็นไม่ได้ก็คือปริมาณของจุลินทรีย์ ทีนี้จะสังเกตว่าปุ๋ยหมักสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่มีข้อสังเกตง่ายๆ ดังนี้

1. สีของกองปุ๋ยหมักจะเข้มขึ้นกว่าเมื่อเริ่มกอง อาจมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ

2. อุณหภูมิภายในของปุ๋ยหมักและอุณหภูมิภายนอกใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันน้อยมาก
3. ใช้นิ้วมือบี้ตัวอย่างปุ๋ยหมักดูเศษพืชจะยุ่ยและขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็งกระด้าง
4. พบต้นพืชที่มีระบบรากลึกขึ้นบนกองปุ๋ยหมัก แสดงว่าปุ๋ยหมักสลายตัวดีแล้ว
5. สังเกตกลิ่นของปุ๋ยหมัก ถ้าเป็นปุ๋ยหมักที่ใช้ได้ ปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นธรรมชาติ
ถ้ามีกลิ่นฉุนหรือมีกลิ่นฟางแสดงว่าปุ๋ยหมักยังใช้ไม่ได้ เนื่องจากขบวนการย่อยสลายยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
6. วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการดูธาตุคาร์บอน และไนโตรเจน ถ้ามีอัตราส่วนเท่ากันหรือต่ำกว่า 20 : 1
ก็พิจารณาเป็นปุ๋ยหมักได้แล้ว
ข้อควรคำนึงในการกองปุ๋ยหมัก

1. อย่ากองปุ๋ยหมักให้มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำให้เกิดความร้อนระอุเกิน 70 องศาเซลเซียส
ซึ่งจะเป็นผลทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตายได้ ขนาดกองปุ๋ยหมักที่เหมาะสมคือ ความกว้างไม่ควรเกิน 2-3 เมตร ความยาวไม่จำกัด สูงประมาณ 1-1.50 เมตร
2. ถ้ากองปุ๋ยหมักมีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้เก็บรักษาความร้อนและความชื้นไว้ได้น้อย
ทำให้เศษพืชสลายตัวเป็นปุ๋ยหมักได้ช้า
3. อย่ารดน้ำโชกจนเกินไป จะทำให้การระบายอากาศในกองปุ๋ยไม่ดีอาจทำให้เกิดกรดอินทรีย์บางอย่าง
เป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นอับได้ง่าย
4. ถ้าเกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมาก ต้องเพิ่มน้ำให้กองปุ๋ย มิฉะนั้นจุลินทรีย์ที่ย่อยซากพืชจะตายได้
5. ถ้าจะมีการใช้ปูนขาว อย่าใช้ปุ๋ยเคมีพร้อมกับการใส่ปูนขาวเพราะจะทำให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัวไป
กรณีใช้ฟางข้าวในการกองปุ๋ยหมักไม่จำเป็นต้องใช้ปูนขาว
6. เศษวัสดุที่ใช้ในการกองปุ๋ยหมักมีทั้งประเภทที่สลายตัวเร็ว เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา เปลือกถั่ว
และต้นถั่วเศษวัชพืชต่าง ๆ และประเภทที่สลายตัวยาก เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ขี้ลีบข้าว กากอ้อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด ดังนั้นในการกองปุ๋ยหมักไม่ควรเอาเศษวัสดุที่สลายตัวเร็วและสลายตัวยากกองปนกัน เพราะจะทำให้ได้ปุ๋ยหมักที่ไม่สม่ำเสมอกันเนื่องจากเศษพืชบางส่วนยังสลายตัวไม่หมด
คุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยหมัก

แสดงคุณค่าทางอาหารพืชที่ได้จากปุ๋ยหมักบางชนิด

ชนิดของปุ๋ยหมัก
% ธาตุอาหารของพืช

N P2O5 K2O
ปุ๋ยหมักจากขยะเทศบาล 1.52 0.22 0.18
ปุ๋ยหมักจากหญ้าแห้ง 1.23 1.26 0.76
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลกระบือ 0.82 1.43 0.59
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลโค 2.33 1.78 0.46
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลแพะ 1.11 4.04 0.48
หญ้าหมัก+กระดูกป่น+มูลม้า 0.82 2.83 0.33
ปุ๋ยหมักจากใบจามจุรี 1.45 0.19 0.49
ปุ๋ยหมักจากฟางข้าว 0.85 0.11 0.76
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลไก่ 1.07 0.46 0.94
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลโค 1.51 0.26 0.98
ปุ๋ยหมักฟางข้าว+มูลเป็ด 0.91 1.30 0.79
ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา 1.43 0.48 0.47
ปุ๋ยหมักผักตบชวา+มูลสุกร 1.85 4.81 0.79
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดอ่อน 0.95 3.19 0.91
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดปานกลาง 1.34 2.44 1.12
ปุ๋ยอินทรีย์(เทศบาล)ชนิดแรง 1.48 2.96 1.15
การใช้ประโยชน์กับพืชต่าง ๆ

วิธีการใช้ปุ๋ยหมักมีวิธีการดังนี้ (พิทยากร และคณะ, 2531: 8-11) ได้รายงานว่า สำหรับวิธีการใส่ปุ๋ยหมักสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี ตามชนิดของพืชที่ปลูกโดยมีจุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ และเพื่อให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุดและเกิดการสูญเสียน้อย เนื่องจากปุ๋ยหมักที่ใช้มีปริมาณมากยากต่อการขนส่งและเคลื่อนย้าย วิธีการใส่ปุ๋ยหมักมีดังนี้คือ

1. ใส่แบบหว่านทั่วแปลง การใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุงบำรุงดินเนื่องจากปุ๋ยหมัก
จะกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืชที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพืชผัก แต่อาจมีปัญหาในด้านจะต้องใช้แรงงานในการใส่ปุ๋ยหมัก อัตราของปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ต่อปี โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 18-22-0, 20-20-0 ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำอาจจะใช้สูตร16-16-8 ในอัตรา 15-30 กก. ต่อไร่
2. ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการ ปลูกพืชไร่
วิธีการใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวนี้เหมาะสมที่จะใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีแบบโรยเป็นแถวสำหรับการปลูกพืชไร่ทั่วไป เนื่องจากปุ๋ยหมักจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีที่ใส่ให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช อัตราปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 3 ตัน ต่อไร่ต่อปี โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 18-22-0 ในอัตรา 25-50 กก. ต่อไร่ สำหรับในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สูตรปุ๋ยอาจต้องใส่โพแทสเซียมเพิ่มขึ้นด้วย
3.ใส่แบบเป็นหลุม การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น โดยสามารถ
ใส่ปุ๋ยหมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อปลูกพืช นำดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักแล้วใส่รองก้นหลุม หรืออาจจะใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย อีกระยะหนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยหมักในช่วงที่พืชเจริญแล้ว โดยการขุดเป็นร่องรอบ ๆ ต้นตามแนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วยดิน หรืออาจจะใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยหมักในช่วงนี้ได้เช่นกัน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักประมาณ 20-50 กก. ต่อหลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15, 14-14-14, 12-12-7 ในอัตรา 100-200 กรัม ต่อหลุมในกรณีที่ใส่ปุ๋ยหมักกับไม้ผลที่เจริญแล้ว อัตราการใช้อาจจะเพิ่มขึ้นตามส่วน และมักจะใส่ปุ๋ยหมักปีเว้นปี
มาตรฐานของปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานให้พิจารณาดังนี้

1. มีเกรดปุ๋ยไม่ต่ำกว่า 1:1:0.5 (ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม)
2. มีความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ไม่มากกว่าร้อยละ 35 – 40 โดยน้ำหนัก
3. ความชื้นเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0 – 7.5
4. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วจะต้องไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่
5. ปุ๋ยหมักที่ใช้ได้แล้วไม่ควรมีวัสดุเจือปนอื่น ๆ
6. จะต้องมีปริมาณอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 25 – 50 %
7. จะต้องมีอัตราส่วนระหว่างธาตุคาร์บอนต่อไนโตรเจนไม่มากกว่า 20 ต่อ 1


Leave a comment

การเพาะเห็ด

ปกติเห็ดฟางเป็นเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ง่ายแต่ด้วยจะรอธรรมชาติอย่างเดียวคงไม่พอกับความต้องการที่จะบริโภค

ของมนุษย์ มนุษย์ก็เลยคิดค้นการเพาะเห็ดฟางขึ้นมาหลายวิธี แต่วิธีที่พอจะเป็นแนวทางให้ปฏิบัติหรือทำได้ ยกตัวอย่างเช่น สมัยก่อน
เราเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ก็คือเอาวัสดุเช่นฟางมากองไว้แล้วเอาเชื้อโรยเห็ดก็ขึ้น แล้วก็เก็บยาวเป็นเดือน

วิธีที่สองดัดแปลงเป็นการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เพาะในไร่นาบ้างเพาะหลังบ้านบ้างโดยการมีแบบพิมพ์แล้วใช้วัสดุยัดลง
ไปในแบบพิมพ์ ถอดแบบพิมพ์ออกมาแล้วก็เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็ทำกันมานานพอสมควรหลายสิบปี ปัจจุบันก็ยังมี
ทำอยู่ก็ดัดแปลงไปตามความเหมาะสมของท้องถิ่น
วิธีที่สามเป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่กรมวิชาการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับการผลิตเห็ดฟาง เพื่อให้ได้มาก ๆ เรียกว่า
การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน บางทีเรียกว่าการเพาะเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม ผลิตครั้งหนึ่งได้เป็นนับ 100 กิโลกรัม อันนี้เป็น
การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน ต่อจากนั้นมาก็มีการพัฒนาการเพาะเห็ดเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ จะเพาะในปริมาณที่มาก
ก็ได้ น้อยก็ได้ แล้วก็มีความสะดวก มีความสะอาด แล้วก็มีการเพาะเห็ดฟางแบบคอนโดเป็นชั้น ๆ หลังจากนั้นก็มีการเพาะเห็ดฟาง
แบบในตะกร้า และสุดท้ายการเพาะเห็ดฟางในถุง

หากจะพิจารณาข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธีแล้ว จะแยกค่อนข้างยาก เพราะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้เพาะ สมมติว่าในชนบท
ต้องการจะมีเห็ดฟางกินอย่างยาวนาน ทำครั้งเดียวแล้วเก็บได้เป็นเดือน ก็เพาะแบบกองสูง แต่ผลผลิตของกองสูงนั้นไม่แน่นอน บาง
ทีก็ขึ้น บางทีก็ไม่ขึ้น บางทีขึ้นมาก จนไม่สามารถควบคุมขนาด สี ความสะอาดหรือสิ่งที่เราต้องการได้อย่างเหมาะสม ขึ้นกับสิ่ง
แวดล้อมควบคุมไม่ได้
ถ้าหากมีวัตถุประสงค์เพาะเพื่อจำหน่ายแบบกองสูงจะไม่ทันก็มีการเพาะแบบกองเตี้ยอยู่ในลักษณะที่ทำเพื่อมีรายได้เสริมใน
ครอบครัว ทำในเฉพาะครอบครัวทำมากไม่ได้เพราะใช้แรงงานมาก ถ้าต้องการทำในวันหนึ่งให้ได้ 100 กิโลหรือมากกว่า
100 กิโลกรัม คือ จะต้องมีตลาด หรือส่งโรงงาน ก็จะเป็นเห็ดฟางแบบโรงเรือน มีการลงทุนมากทำกันแบบทุกอย่างพลาดไม่ได้ ต้อง
มีความรู้ทางวิชาการค่อนข้างสูง มีวัสดุ มีทุน เป้าหมาย คือ ทำเพื่อขายอย่างเดียว หลังจากนั้นถ้าจะทำหลากหลายรวม ๆ กัน เช่น
เพื่อพักผ่อนบ้าง หรือทำไว้กินบ้าง เช่น เพื่อให้มีรายได้ วิธีเดียวที่จะขายได้ทุกอย่าง คือ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เพราะว่าหนึ่ง
ตะกร้ามีพื้นที่การออกในด้านสูงมาก ตะกร้าเดียวจะได้เห็ดเป็นกิโล

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้านี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ขึ้นมา แต่เดิมนั้นการเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ใน
แนวราบ มาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบ 1 ตารางเมตรถ้าผลผลิตได้ถึง 3 กิโลถือว่ายอดเยี่ยมการเพาะเห็ดฟางแบบใน
ตะกร้าจะใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนวราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก โดยสามารถใช้ตะกร้าซักผ้า ตะกร้าใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ปลา
ของชาวประมง คือไม่สูงมากประมาณ 1 ฟุต รอบ ๆ ตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบนเห็ดก็สามารถออกได้ และสามารถนำตะกร้าซ้อนกัน
ได้หลายชั้น เป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่การออกดอกของดอกเห็ด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีทำเหมาะกับทุกรูปแบบ
จุดคุ้มทุนที่เหมาะสม คือ จากการเก็บตัวเลขในกระบวนวิจัย 1 ตรม. สามารถวางได้ถึง 9 ตะกร้า โดยวางชั้นเดียว
เมื่อ 1 ตรม. วางได้ถึง 9 ตะกร้า จะได้เห็ดไม่ต่ำกว่า 1 กก. ต่อ 1 ตะกร้า เพราะฉะนั้น 1 ตรม.ได้อย่างน้อย 9 กก. เปรียบเทียบ
แบบกอง คือ 3 กก. แบบตะกร้าได้มากกว่า แนวทางในการพัฒนาตรงนี้ค่อนข้างจะเป็นที่สนใจของนักวิชาการ และผู้สนใจที่จะ
เพาะเห็ดอยู่มาก

วัสดุที่เพาะเห็ดฟางในประเทศไทยมีมากมายมหาศาล ตัวอย่างเช่น ฟางข้าวเปลือก ถั่วทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นถั่วเหลือง
ถั่วเขียว ถั่วแขก เปลือกมันสำปะหลัง ก็สามารถใช้ได้ดี ต้นข้าวโพดแห้ง ๆ เอามาสับ ๆ แล้วแช่น้ำก็สามารถนำมาเพาะได้ ผักตบชวา
จอกหูหนู ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ทะลายปาล์ม หรือผลปาล์ม ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนหรือขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือขี้เลื่อยทำเพาะเห็ดทุกชนิด
แล้วยังสามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ กระดาษก็สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ กระสอบป่านเก่า ๆ ก็ใช้ได้
นอกจากนี้ยังมีงานทดลองอีกอย่าง คือ ขุยมะพร้าว ภาคใต้มีมาก หลังจากเอาเส้นใยออกแล้ว ขุยมะพร้าวมักจะเอามาทำต้นไม้
อย่างเดียวแล้ว ยังสามารถเอาขุยมะพร้าว 2 ส่วนผสมกับขี้วัว 1 ส่วน ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ มีความชื้นและมีอาหารจากขี้วัว
เมื่อนำมาเพาะเห็ดฟางแล้วจะได้ประโยชน์จากการใช้สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์มากขึ้น
ในการเลือกวัสดุอย่างฟางข้าวนั้นจะพบปัญหามากเพราะว่าฟางข้าวมีสารเคมีที่เกษตรกรใช้มีสารพิษตกค้างจนทำให้เป็นพิษ
ต่อผู้บริโภคเห็ดฟางได้ ตัวอย่างเช่น สารเคมีกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม นอกจากจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่เจริญเติบโตแล้ว เมื่อคนนำ
มาบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดการเป็นพิษ ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดแมลงที่เกษตรกรใช้ ก็มาสู่คนเมื่อบริโภคเข้าไปก็เป็นพิษ

แต่อย่างไรก็ตามวัสดุทุกอย่างทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในการนำมาเพาะเห็ดฟาง พึงสำนึกว่าต้องสะอาด ปลอดสารเคมี อยู่ใน
ท้องถิ่นจะดีที่สุด ต้นทุนจะต่ำ ความหลากหลายของวัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ วัสดุใดที่เป็นพิษโดยธรรมชาติ อย่านำมาใช้ เช่น ต้นพืชที่มี
ฤทธิ์เมา เมื่อนำไปเพาะเห็ดสารพิษนี้จะถูกให้ดูดซึมเข้าไปสู่ผู้บริโภคจะทำให้เมาได้
ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าไม่ยุ่งยาก ถ้าใครเคยเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยแล้ว ทุกอย่างเหมือนกัน แค่ยกมาใส่
ตะกร้า หมายความว่าชั้นที่หนึ่งเป็นวัสดุเพาะ คือ พวกฟางข้าว เปลือกถั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะผสมผสานกันก็ได้ ชั้นที่หนึ่งวัสดุ
ชั้นที่สองเป็นอาหารเสริม อาจจะใส่นุ่น ผักตบชวาสดแล้วก็โรยด้วยเชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ดฟางอาจจะคลุกเคล้าด้วยแป้งสาลี แป้งข้าว
เหนียวหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าคลุกเคล้าจะทำให้เส้นใยเดินได้เร็ว ก็จะได้ชั้นที่หนึ่ง หลังจากนั้นก็ทำเหมือนชั้นที่หนึ่งก็มีวัสดุเพาะ มีอาหาร

เสริมแล้วก็เชื้อเห็ดเสร็จแล้วทำชั้นที่สาม ชั้นที่สามจะแตกต่างจากชั้นที่หนึ่ง ชั้นที่สองก็คือ ด้านบนจะโรยอาหารเสริมทั้งหมดเต็มพื้น
ที่ของผิวตะกร้า แล้วโรยเชื้อเห็ดทั้งหมดคลุมด้วยวัสดุเล็กน้อยกดให้แน่น ๆ ให้ต่ำกว่าปากตะกร้าประมาณ 1 ช่องตา รดน้ำประมาณ
2 ลิตร รดทั้งด้านบนตะกร้าและด้านข้างตะกร้า ยกใส่กระโจมเล็ก ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ถุงใส ถุงดำจะไม่มีดอก หรือ
ตะกร้าเดียวก็เอาเข่งครอบแล้วเอาพลาสติกคลุม อีกที หรือทำ 4-5 ตะกร้าเอาสุ่มไก่ครอบพลาสติกคลุมในที่ร่มและชื้น ประมาณวันที่
สี่ก็เปิดสำรวจดูว่ามีเส้นใยมากไหม ถ้ามากก็ตัดเส้นใยสัก 5 – 10 นาที แล้วคลุมไว้อย่างเดียว ตอนเปิดถ้าตะกร้าแห้งก็รดน้ำ
นิดหน่อยประมาณวันที่ 7 – 8 ก็เก็บผลผลิตได้ โดยผลผลิตจะออกมาตามตาที่รอบ ๆ ตะกร้า เทคนิคการโรยเชื้อเห็ดชั้นที่ 1 – 2
คือโรยให้ชิดขอบตะกร้า ตรงกลางไม่ต้องโรย ชั้นที่ 3 โรยให้เต็ม

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้ามีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ตะกร้าพลาสติกขนาดสูง 11 นิ้ว ปากตะกร้ากว้างประมาณ 18 นิ้ว มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ตะกร้าใบหนึ่งใช้ได้หลายครั้ง
อาจใช้ได้นานเกิน 20 ครั้งขึ้นไป ราคาใบละประมาณ 30 บาท
2. ชั้นโครงเหล็ก ใช้เหล็กแป๊ปสี่เหลี่ยมขนาด 6 หุน มาทำเป็นโครงเหล็กให้ได้ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 2 เมตร
ยาง 2 เมตร ซึ่งโครงเหล็กมี 4 ชั้น สามารถวางตะกร้าเพาะได้ 40 ใบ ราคาโครงเหล็กประมาณ 705 บาท
3. แผ่นพลาสติกสำหรับคลุมชั้นโครงเหล็ก ใช้แผ่นพลาสติกใสขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ราคาประมาณ 60 บาท
4. โรงเรือน ซึ่งโรงเรือนเป็นไม้ลักษณะของโรงเรือน คือนำไม้มาประกอบกันซึ่งสร้างให้มีขนาดใหญ่ จนสามารถครอบชั้น
โครงเหล็กได้ ราคาโรงเรือนทั้งหมดประมาณ 900 – 1,000 บาท
5. วัสดุเพาะ อาจใช้ฟางหรือก้อนขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงมาแล้ว ใช้ 9 ก้อนต่อ 1 ตะกร้า ราคาเฉลี่ยประมาณก้อนละ
50 สตางค์ รวมเป็นเงินต่อตะกร้าประมาณ 4 – 5 บาท

6. อาหารเสริม เราสามารถใช้ผักตบชวาหั่นประมาณ 1 ลิตรต่อตะกร้าคิดเป็นเงินรวมตะกร้าละไม่ถึง 1 บาท
7. ค่าเชื้อเห็ดฟางแบบอีแปะถุงละประมาณ 2 บาท
8. ค่าจ้างแรงงานเพาะคิดเป็นเงินตะกร้าละ 3 บาท
9. ค่าจ้างดูแล คิดเป็นเงินต่อตะกร้าละประมาณ 5 บาท
10. ค่าจ้างแรงงาน เพื่อการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตกิโลกรัมละประมาณ 5 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 2 พันบาทต้น ๆ แต่หากลบค่าใช้จ่ายเรื่องโรงเรือนออกไป ราคาเห็ดฟางต่อหนึ่งตะกร้าจะลง
ทุนเพียงประมาณไม่ถึง 50 บาท เท่านั้น

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟาง มีหลายวิธี การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจ เนื่องด้วย

  • สามารถเพาะในพื้นที่ซ้ำเดิมได้ โดยปกติต้องเปลี่ยนสถานที่เพาะเนื่องจากปัญหาการสะสมของโรค แมลง
  • วัสดุเพาะไม่สัมผัสพื้นดิน ลดปัญหาในเรื่องของเชื้อโรคที่มาจากพื้นดิน
  • ต้นทุนในการผลิตต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะแบบโรงเรือนปกติ

วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

วัสดุเพาะ

  • หัวเชื้อเห็ดฟาง อายุ 7 วัน (สังเกตจากมีเส้นใยสีขาวขึ้นบนก้อนเชื้อ)
  • ก้อนเชื้อเห็ดเก่า
  • ฟางข้าว
  • ต้นกล้วย
  • ชานอ้อย
  • อาหารเสริม เช่น ผักตบชวา มูลวัว ไส้นุ่น รำละเอียด
  • อาหารกระตุ้นหัวเชื้อ ได้แก่ แป้งสาลี หรือแป้งข้าวเหนียว
  • น้ำสะอาดชล

วัสดุเพาะ

  • ตะกร้าเพาะเห็ดฟาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูง 11 นิ้ว มีช่องขนาด 1 ตารางนิ้ว ด้านล่างเจาะรูทำช่องระบายน้ำ
  • พลาสติกคลุม
  • สุ่มไก่ หรือวัสดุอื่นๆ สำหรับทำเป็นโครง

วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

  1. ชั้นที่ 1 เริ่มที่นำเชื้อเห็ดฟาง ขนาด 1 ปอนด์ แกะใส่ภาชนะ และฉีกหัวเชื้อเป็นชิ้นเล็ก แล้วโรยแป้งสาลี หรือแป้งข้าวเหนียว แบ่งหัวเชื้อเห็ดออกเป็น 6 ส่วนเท่า ๆ กัน (หัวเชื้อ 1 ถุง ทำได้ 2 ตะกร้า) จากนั้นนำวัสดุเพาะ (ฟางข้าว) มารองก้นตะกร้าให้มีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว (กดให้แน่น ๆ) หรือสูงถึง 2 ช่องล่างของตะกร้า แล้วโรยอาหารเสริม (ผักตบชวา) ให้ชิดขอบตะกร้า หนาประมาณ 1 นิ้ว หรือสูงประมาณ 1 ช่องตะกร้า และนำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ 1 ส่วน วางรอบตะกร้าให้ชิดขอบตะกร้าเป็นจุด ๆ
  2. ชั้นที่ 2 ให้ทำแบบเดิม ในส่วนชั้นที่ 3 ให้ทำเหมือนชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2 แต่เพิ่มการโรยอาหารเสริมให้เต็มพื้นที่ด้านบนให้หนา 1 นิ้ว แล้ว โรยเชื้อเห็ดฟางให้เต็มที่ โดยกระจายเป็นจุด ๆ ด้านบนตะกร้า โดยให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน จากนั้นโรยวัสดุเพาะ อาทิ ฟางข้าว ด้านบนอีกครั้ง หนาประมาณ 1 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษาการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

นำตะกร้าเพาะไปวางบนพื้นโรงเรือน หรือชั้นโครงเหล็กที่เตรียมไว้ หรือจะยกพื้นวางอิฐบล็อก หรือไม้ท่อนก็ได้ เตรียมสุ่ม 1 สุ่ม สำหรับตะกร้า 4 ใบ โดยตะกร้า 3 ใบวางด้านล่างชิดกัน และวางด้านบนอีก 1 ใบ ให้ตะกร้าห่างจากสุ่มไก่ประมาณ 1 คืบ จากนั้นนำพลาสติกมาคลุมสุ่มไก่จากด้านบนถึงพื้น แล้วนำอิฐ หรือไม้ทับขอบพลาสติก เพื่อไม่ให้พลาสติกเปิดออก

ช่วงวันที่ 1 ถึงวันที่ 4 หลังเพาะ ในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝน และวันที่ 1 ถึง 7 วันแรกในช่วงฤดูหนาว ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ในกระโจม หรือโรงเรือน ให้อยู่ในช่วงระหว่าง 37-40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 38 องศาเซลเซียส ในระหว่างวันที่ 5 ถึง 8 ต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส เพราะในระหว่างวันที่ 5-7 จะมีการรวมตัวกันของเส้นใย เป็นดอกเล็ก ๆ จำนวนมาก ระหว่างนี้ห้ามเปิดพลาสติก หรือโรงเรือนบ่อย เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อ

ประมาณวันที่ 7-8 ในฤดูร้อน หรือวันที่ 9-10 ในฤดูหนาว เห็ดฟางจะเริ่มให้ดอกขนาดโต จึงจะเก็บเกี่ยวได้ โดยการเก็บควรทำตอนเช้ามืด เพื่อดอกเห็ดจะได้ไม่บาน ดอกเห็ดที่เก็บควรมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลอกยังไม่แตก ดอกยังไม่บาน ถ้าปล่อยให้ปลอกแตก และดอกบานแล้วค่อยเก็บ จะขายได้ราคาต่ำ การเก็บควรใช้มีดสะอาดตัดโคนเห็ด ถ้ามีดอกเห็ดขึ้นอยู่ติดกันหลายดอกควรเก็บขึ้นมาพร้อมกันทีเดียว ถ้าเก็บเฉพาะดอกเห็ดที่โตออกมาดอกที่เหลือจะไม่โต และฝ่อตายไป

ผลผลิตเห็ดฟางสามารถเก็บได้ 2-3 ครั้ง เก็บเห็ดได้เฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อตะกร้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เพาะ การดูแลรักษา ฤดูกาล และวิธีการปฏิบัติ สำหรับต้นทุน และผลตอบแทน ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยครั้งที่ 1 60-80 บาท ต่อตะกร้า หากเป็นการเพาะครั้งที่ 2-6 ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยที่ 20-40 บาทต่อตะกร้า (ไม่มีค่าตะกร้า) ราคาขายผลผลิตเห็ดโดยเฉลี่ย 70 บาทต่อกิโลกรัม ผลกำไรเฉลี่ย 10-50 บาทต่อกิโลกรัม


Leave a comment

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

 การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

ไส้เดือน  ( EARTHWORM)
ผู้รับผิดชอบ นางนงค์เยาว์ จันทร์อ้าย  นายมานิต กันธะอูปไส้เดือนดินจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Animalia) ศักดิ์แอนนิลิดา (Phylum: Annelida)  ชั้น โอลิโกซีตา (Class: Oligochaeta) ตระกูลโอพิสโธโพรา (Order: Opisthopora) สำหรับ วงศ์ (Family) ของไส้เดือนดินนั้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จัดจำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ที่แตกต่างกันออกไป และจากการจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดินล่าสุด โดย Renolds and Cook (1993) ได้จัดจำแนกไส้เดือนดินที่อยู่ในตระกูลโอพิสโธโพราทั้งหมดออกเป็น  21 วงศ์
การจัดอยู่ในกลุ่มตามลักษณะการย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ   แบ่งออกเป็น  2  กลุ่มใหญ่ตามที่อยู่อาศัยและนิสัยในการกินอาหาร  คือ
1.  ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์
2.  ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ใต้ดินโดยการขุดรูอยู่
โดยไส้เดือนดินที่อยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ในดินได้ดีกว่า และมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าด้วย โดยทั่วไปในธรรมชาติไส้เดือนดินมีอายุที่ยาวนาน ตั้งแต่ 4 -10 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เดือนดิน แต่เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงมักพบว่าไส้เดือนดินมีอายุสั้นลง โดยทั่วไปจะมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี
ลักษณะของไส้เดือนดิน
1.  จัดเป็นผู้บริโภค ( consumer ) ระดับ Scarvengerกินเข้าไปย่อยภายใน
2.  มีลำตัวเป็นปล้อง ๆ ( Segmentation ) มีเยื่อ Cuticle คลุมผิวหนัง
3.  ผิวหนังบางชื้นใช้หายใจได้ เคลื่อนไหวโดยใช้เดือยรอบ ๆ ปล้อง ( Seta )
4.  ปล้องที่ 14, 15, 16 เรียกว่า Clitellum สร้างปลอกหุ้มไข่ ( Cocoon )
5.  เป็นกระเทยที่แท้จริง สร้างได้ทั้งไข่และอสุจิแต่ผสมกันในตัวเองไม่ได้
6.  มีกึ่น ( Gizzard ) ช่วยในการย่อยอาหาร
7.  มีอวัยวะขับถ่ายเรีบกว่า Nephridiaขับของเสียที่เป็นของเหลวออกทางรูผิวหนัง
8.  มีหัวใจเทียม ( pseudoheart ) อยู่ระหว่างปล้องที่ 8 – 13
9.  มีเลือดสีแดง Hemoglobin อยู่ในน้ำเลือด ( Plasma )
10.มีเส้นประสาททางด้านท้อง Ventral nerve cordลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน
ไส้เดือน  ( EARTHWORM)  ดินมักพบโดยทั่วไปในดิน เศษกองซากพืช มูลสัตว์ ที่ๆมีความชื้นพอสมควร ปัจจุบันไส้เดือนมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยมีโครงสร้างที่มีลักษณะเหมือนกันคือ

ลักษณะภายนอกโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน 
ลักษณะภายนอกที่เด่นชัดของไส้เดือนดินคือการที่มีลำตัวเป็นปล้องตั้งแต่ส่วนหัว จนถึงส่วนท้าย มีรูปร่างเป็นรูปทรงกระบอก มีความยาว ในแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เมื่อโตเต็มที่จะมีปล้องประมาณ  120  ปล้อง แต่ละปล้องจะมีเดือยเล็กๆ เรียงอยู่โดยรอบปล้อง  ไม่มีส่วนหัวที่ชัดเจน  ไม่มีตา  มีไคลเทลลัม  ซึ่งจะเห็นได้ชัด ในระยะสืบพันธุ์ และยังประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่สำคัญ ดังนี้

1.  พรอสโตเมียม( Prostomium)  มี ลักษณะเป็นพูเนื้อที่ยืดหดได้ติดอยู่กับผิวด้านบนของช่องปาก เป็นตำแหน่งหน้าสุดของไส้เดือนดิน ทำหน้าที่คล้ายริมฝีปาก ไม่ถือว่าเป็นปล้อง มีหน้าที่สำหรับกวาดอาหารเข้าปาก
2.  เพอริสโตเมียม ( Peristomium ) ส่วนนี้นับเป็นปล้องแรกของไส้เดือนดิน มีลักษณะเป็นเนื้อบางๆ อยู่รอบช่องปากและยืดหดได้
3.  ช่องปาก อยู่ในปล่องที่ 1-3 เป็นช่องทางเข้าออกของอาหารเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะมีต่อมน้ำลายอยู่ในเยื่อบุช่องปากด้วย
4.  เดือยหรือขน ( Setae ) จะ มีลักษณะเป็นขนแข็งสั้น ซึ่งเป็นสารพวกไคติน ที่งอกออกมาบริเวณผนังชั้นนอก สามารถยืดหดหรือขยายได้ เดือนนี้มีหน้าที่ ในการช่วยเรื่องการยึดเกาะและเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน
5.  ช่องเปิดกลางหลัง ( Dorsal pore )  เป็น ช่องเปิดขนาดเล็กตั้งอยู่ในร่องระหว่างปล้อง บริเวณแนวกลางหลังสามารถพบช่องเปิดชนิดนี้ได้ในไส้เดือนดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นไส้เดือนจำพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือกึ่งน้ำ ในร่องระหว่างปล้องแรกๆ บริเวณส่วนหัวจะไม่ค่อยพบช่องเปิดด้านหลัง ช่องเปิดดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับช่องภายในลำตัวและของเหลวในช่องลำตัว มีหน้าที่ขับของเหลวหรือเมือกภายในลำตัวออกมาช่วยลำตัวภายนอกชุ่มชื่น ป้องกันการระคายเคือง ทำให้เคลื่อนไหวง่าย
6.  รูขับถ่ายของเสีย ( Nephridiopore ) เป็นรูที่มีขนาดเล็กมาก สังเกตเห็นได้ยาก เป็นรูสำหรับขับของเสียออกจากร่างกาย เป็นรูเปิดภายนอก ซึ่งมีอยู่เกือบทุกปล้อง  ยกเว้น 3-4 ปล้องแรก
7.  ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ ( Male pore ) เป็นช่องสำหรับปล่อยสเปิร์ม จะมีอยู่ 1 คู่ ตั้งอยู่บริเวณลำตัวด้านท้องหรือข้างท้อง ในแต่ละสายพันธุ์ช่องสืบพันธุ์อยู่ในปล้องที่ไม่เหมือนกัน มีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายหลอดเล็กยาวเข้าไปภายใน
8.  ช่องสืบพันธุ์เพศเมีย ( Female pore ) เป็นช่องสำหรับออกไข่ โดยทั่วไปมักตั้งอยู่ในปล้องถัดจากปล้องที่มีรังไข่ ( avary) มักจะพบเพียง 1 คู่ ตั้งอยู่ในร่องระหว่างปล้องหรือบนปล้อง ตำแหน่งที่ตั้งมักจะแตกต่างกันในไส้เดือนแต่ละพันธุ์
9.  ช่องเปิดสเปิร์มมาทีกา ( Spermathecalporse ) เป็น ช่องรับสเปิร์มจากไส้เดือนดินคู่ผสมอีกตัวหนึ่งขณะมีการผสมพันธุ์แลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน เมื่อรับสเปิร์มแล้วจะนำไปเก็บไว้ในถุงเก็บสเปิร์ม ( Seminal receptacle )
10. ปุ่มยึดสืบพันธุ์ ( Genital papilla ) เป็นอวัยวะที่ช่วยในการยึดเกาะขณะที่ไส้เดือนดินจับคู่ผสมพันธุ์กัน
11. ไคลเทลลัม ( Clitellum) เป็นอวัยวะที่ใช้ในการสร้างไข่ขาวหุ้มไข่ และสร้างเมือกโคคูน ไคลเทลลัมจะพบในไส้เดือนดินที่โตเต็มไวพร้อมที่ผสมพันธุ์แล้วเท่านั้น โดยจะตั้งอยู่บริเวฯปล้องด้านหน้าใกล้กับส่วนหัว ครอบคลุมปล้องตั้งแต่ 2-5 ปล้อง
12. ทวารหนัก ( Anus ) เป็นรูเปิดที่ค่อนข้างแคบเปิดออกในปล้องสุดท้าย ซึ่งใช้สำหรับขับกากอาหารที่ผ่านการย่อยและดูดซึมแล้วออกนอกลำตัว

โครงสร้างภายในของไส้เดือนดิน
ผนังร่างกายของไส้เดือนดิน  ประกอบ ด้วย ชั้นนอกสุดคือ คิวติเคิล และถัดลงมาคือ ชั้นอิพิเดอร์มิส ชั้นเนื้อเยื่อประสาท ชั้นกล้ามเนื้อตามขวางและชั้นกล้ามเนื้อตามยาวและถัดจาดชั้นกล้ามเนื้อตาม ยาวจะเป็นเนื้อเยื่อเพอริโตเนียม ซึ่งเป็นเยื่อบุที่กั้นผนังร่างกายจากช่องภายในลำตัว
ชั้นคิวติเคิล ( Cuticle ) เป็นชั้นที่บางที่สุด  เป็น ชั้นที่ไม่มีเซลล์ ไม่มีสี และโปร่งใส ประกอบด้วยคิวติเคิล2 ชั้น หรือมากกว่า แต่ละชั้นประกอบด้วยเส้นใย โปรตีนคอลลาจีเนียส ที่สานเข้าด้วยกันและมีชั้นของ โฮโมจีเนียส จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีโพลีแซคคาไรด์ และมีเจลลาติน เล็กน้อย ในชั้นคิวติเคิลจะมีบริเวณที่บางที่สุด คือ บริเวณที่มีอวัยวะรับความรู้สึก ซึ่งบริเวณนี้จะมีรอยบุ๋มของรูขนขนาดเล็กมากมายและมีขนละเอียดออกมาจากรูดัง กล่าว เป็นเซลล์รับความรู้สึก
ชั้นอิพิเดอร์มิส ( Epidermis) คือ เซลล์ชั้นเดียวที่เกิดจากเซลล์หลายชนิดที่แตกต่างกันรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย เซลล์ค้ำจุนที่มีรูปร่างเป็นแท่ง และเซลล์ต่อม โดยเซลล์ค้ำจุนเป็นเซลล์โครงสร้างหลักของชั้นอิพิเดอร์มิส ที่มีรูปร่าง เป็นแท่งเซลล์แท่งดังกล่าว นอกจากเป็นเซลล์โครงสร้างค้ำจุนแล้วยังเป็นเซลล์ที่สร้างสารคิวติเคิลให้กับ ชั้นคิวติเคิลด้วย สำหรับเซลล์ต่อม จะมีอยู่ 2 แบบ คือเซลล์เมือก ( Goblet cell ) และเซลล์ต่อมไข่ขาว ( Albumen cell ) โดย เซลล์ขับเมือกเหล่านี้จะขับเมือกผ่านไปยังผิวคิวติเคิลเพื่อป้องกันไม่ให้ น้ำระเหยออกจากตัว ทำให้ลำตัวชุ่มชื่นและเคลื่อนไหวในดินได้สะดวกและทำให้ออกซิเจนละลายใน บริเวณผนังลำตัวได้ และยังมีกลุ่มเซลล์รับความรู้สึกรวมกันเป็นกลุ่มแทรกตัวอยู่ระหว่างเซลล์ ค้ำจุน ซึ่งจะทำหน้าที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของการสัมผัสสิ่งต่างๆ
ชั้นกล้ามเนื้อเส้นรอบวง ( Circular muscle )  เป็น ชั้นกล้ามเนื้อที่ถัดจากชั้นอิพิเดอร์มิส ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อที่ขยายรอบๆ ลำตัวของไส้เดือนดิน ยกเว้นบริเวณตำแหน่งร่องระหว่างปล้องจะไม่มีเส้นใยกล้ามเนื้อนี้อยู่ เส้นใยกล้ามเนื้อตามเส้นรอบวงจะมีการจัดเรียงเส้นใยเป็นเป็นระเบียบกลาย เป็นกลุ่มเส้นใย โดยเส้นใยแต่ละกลุ่มจะถูกล้อมรอบด้วยแผ่นเนื้อเยื่อเชื่อมต่อรวมกลุ่มเส้นใย แต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ
ชั้นกล้ามเนื้อตามยาว ( Longitudinal muscle ) อยู่ ใต้ชั้นกล้ามเนื้อตามขวาง มีความหนามากกว่ากล้ามเนื้อรอบวง โดยกล้ามเนื้อชั้นในจะเรียงตัวเป็นกลุ่มลักษณะคล้ายบล็อก รอบลำตัวและยาวต่อเนื่องตลอดลำตัว

  1. ขนแข็ง ( Setae )
  2. ชั้นคิวติเคิล ( Cuticle )
  3. ชั้นอิพิเดอร์มิส ( Epidermis )
  4. ชั้นกล้ามเนื้อเส้นรอบวง ( Circular muscle )
  5. ชั้นกล้ามเนื้อตามยาว ( Longitudinal muscle )

ภาพอวัยวะภายในไส้เดือนดิน
ระบบย่อยอาหาร 
ทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน มีรูปร่างเป็นหลอดตรงธรรมดา ที่เชื่อมต่อจากปากในช่องแรกยาวไปจนถึงทวารซึ่งประกอบด้วยอวัยวะดังนี้
1. ปาก ( Mouth ) อยู่ใต้ริมฝีปากบน เป็นทางเข้าของอาหาร นำไปสู่ช่องปากซึ่งจะเป็นบริเวณที่มีต่อมน้ำลายผลิตสารหล่อลื่นอาหารที่กินเข้าไป ช่องปากจะอยู่ในปล้องที่ 1- 3
2. คอหอย ( Pharynx ) เป็นกล้ามเนื้อที่หนา และมีต่อมขับเมือก ตั้งอยู่ระหว่างปล้องที่ 3  ถึงปล้องที่ 6 ไส้เดือนดินใช้คอหอยในการดูดอาหารต่างๆ เข้าปากโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดึงดูดให้อนุภาคอาหารภายนอกผ่านเข้าไปในปาก
3. หลอดอาหาร ( Esophagus ) อยู่ระหว่างปล้องที่ 6 ถึงปล้องที่ 14 มีต่อมแคลซิเฟอรัส ช่วยดึงไออน ของ
แคลเซียม จากดินที่ปนมากับอาหารจำนวนมากนำเข้าสู่ทางเดินอาหาร เพื่อไม่ให้แคลเซียมในเลือดมากเกินไป เฉพาะพวกที่กินอาหารที่มีดินปนเข้าไปมากๆ เท่านั้นจึงจะมีต่อมแคลซิเฟอรัส ต่อจากหลอดอาหารจะพองโตออกเป็นหลอดพักอาหาร มีลักษณะเป็นถุงผนังบางๆ และ กึ๋น ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และ ทำหน้าที่บดอาหารให้ละเอียดเพื่อส่งต่อไปยังลำไส้
4.   ลำไส้ ( Intestine ) มี ลักษณะเป็นท่อตรงที่เริ่มจากปล้องที่ 14 ไปถึงทวารหนัก ผนังลำไส้ของไส้เดือนดินค่อนข้างบางและผนังลำไส้ด้านบนจะพับเข้าไปข้างใน ช่องทางเดินอาหารเรียกว่า  Typhlosole ทำให้มีพื้นที่ในการย่อยและดูดซึมอาหารได้มากขึ้นโดย สำหรับไส้เดือนน้ำจืดไม่มี Typhlosole   ผนัง ลำไส้ประกอบด้วยชั้นต่างๆ คือเยื่อบุช่องท้อง วิสเซอรอล อยู่ชั้นนอกสุดของลำไส้ ติดกับช่องลำตัว เซลล์บางเซลล์บนเยื่อนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลล์คลอราโกเจน ทำหน้าที่คล้ายตับของสัตว์ชั้นสูง คือสังเคราะห์และสมสมสาร ไกลโคเจน ไขมัน โดยเซลล์ไขมันในเนื้อเยื่อคลอราโกเจนที่มีขนาดโตเต็มที่จะหลุดออกมาอยู่ใน ช่องลำตัวเรียกว่า Eleocytesซึ่งจะกระจายไปยัง อวัยวะต่างๆและยังมีหน้าที่รวบรวมของเสียจากเลือดและของเหลวในช่องลำตัวโดย เป็นตัวดึงกรดอะมิโน ออกจากโปรตีน สกัดแอมโมเนีย ยูเรีย และสกัดสารซิลิกาออกจากอาหารที่กินเข้าไปแล้วขับถ่ายออกนอกร่างกายทางรูขับ ถ่ายของเสียหรือเนฟริเดีย  ถัดจากเยื่อบุช่องท้องวิส เซอรอลจะเป็นชั้นของกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อในลำไส้ของไส้เดือนดินประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 ชั้น คือชั้นในเป็นกล้ามเนื้อเส้นรอบวงและชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อตามยาว ซึ่งสลับกันกับกล้ามเนื้อของผนังร่างกาย และชั้นในสุดของลำไส้จะเป็นเยื่อบุลำไส้ ซึ่งประกอบด้วย เซลล์รูปแท่งและเซลล์ต่อม ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยชนิดต่างๆ

ระบบขับถ่าย
อวัยวะขับถ่ายของเสียหลักในไส้เดือนดินคือ เนฟริเดีย ( Nephridia )  ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่แยกของเสียต่างๆออกจากของเหลวในช่องลำตัวของไส้เดือนดืนแต่ละปล้องของไส้เดือนดินจะมี nephridiaที่เป็นท่อขดไปมาอยู่ปล้องละ 1 คู่ ทำหน้าที่รวบรวมของเหลวในช่องตัวจากปล้องที่อยู่ถัดไปทางด้านหน้าของลำตัว ของเหลวในช่องตัวจะเข้าทางปลายท่อ nephrostomeที่ มีซิเลียอยู่โดยรอบ แล้วไหลผ่านไปตามส่วนต่างๆของท่อ น้ำส่วนใหญ่พร้อมทั้งเกลือแร่บางชนิดที่ยังเป็นประโยชน์จุถูกดูดซึมกลับเข้า สู่กระแสเลือด ส่วนของเสียพวกไนโตรจินัสเบสจะถูกขับออกสู่ภายนอกทางช่อง nephridioporeที่อยู่ทางด้านท้อง

ระบบหมุนเวียนเลือด 
เป็นระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิดที่ยังไม่แบ่งเส้นเลือดแดง และ เส้นเลือดดำ โดยไส้เดือนดินจะใช้เส้นเลือด ( Vessel ) ใน การกระจายเลือดไปทั่วร่างกายโดยตรง ซึ่งในระบบการลำเลียงเลือดของไส้เดือนดิน ประกอบด้วยเส้นเลือดหลักอยู่ 3 เส้น คือเส้นเลือดกลางหลัง เส้นเลือดใต้ลำไส้ และเส้นเลือดด้านท้องและด้านข้างของเส้นประสาท โดยเส้นเลือดทั้ง 3 จะทอดตัวไปตลอดความยาวของลำตัว  นอกจากนี้จะมี เส้นเลือดด้านข้าง ซึ่งเป็นเส้นเลือดเชื่อมระหว่างเลือดกลางหลังกับเส้นเลือดใต้ลำไส้ในช่วง 13 ปล้องแรก เป็นเส้นเลือดขนาดใหญ่บีบหดตัวได้ดีมาก  เรียกว่าหัวใจเทียม ( Pseudoheart ) ,us]kp8^jน้ำเลือด จะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่หรือาจไม่มีก็ได้

ระบบการแลกเปลี่ยนก๊าซ 
ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินไม่มีอวัยวะพิเศษที่ใช้ในการหายใจ แต่จะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านทางผิวหนังโดยไส้เดือนดินจะขับเมือกและของเหลว ที่ออกมาจากรูขับถ่ายของเสียเพื่อเป็นตัวทำละลายออกซิเจนจากอากาศแล้วซึม ผ่านผิวตัวเข้าไปในหลอดเลือดแล้ว ละลายอยู่ใน น้ำเลือดต่อไป
ระบบประสาท 
ระบบประสาทของไส้เดือนดิน ประกอบสมองที่มีลักษณะเป็นสองพู เพราะเกิดจากปมประสาทด้านหน้าหลอดอาหารมาเชื่อมรวมกันอยู่เหนือหลอดอาหาร ปมประสาทสมอง 1 คู่ อยู่เหนือคอหอยปล้องที่ 3 เส้นประสาทรอบคอหอย 2 เส้น อ้อมรอบคอหอยข้างละเส้น  เส้นประสาทใหญ่ด้านท้องจะมีปมประสาทที่ปล้องประจำอยู่ทุกปล้อง  ไส้เดือนดินยังไม่มีอวัยวะรับความรู้สึกใดๆ มีเพียงเซลล์รับความรู้สึก ( Sensory Cells )  ที่ กระจายอยู่บริเวณผิวหนัง โดยเซลล์รับความรู้สึกแต่ละเซลล์จะมีขนเล็กๆ ยื่นออกมาเพื่อรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งเซลล์รับความรู้สึกเหล่านี้เชื่อมต่อกับระบบประสาท นอกจากเซลล์รับความรู้สึกแล้ว ยังมีเซลล์รับแสง ( Photoreceptor cells ) ใน ชั้นของเอพิเดอร์มิส โดยจะมีมากบริเวณริมฝีปากบน ปล้องส่วนหัวและส่วนท้ายของลำตัว มีหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงไปยังระบบประสาท ถ้ามีแสงสว่างมากเกินไปพวกมันจะเคลื่อนที่หนีเข้าไปอยู่ในที่มืด

รูปภาพแสดงระบบประสาทของไส้เดือนดิน
ระบบสืบพันธุ์ 
ไส้เดือน ดินเป็นสัตว์ที่มีทั้งรังไข่และอัณฑะอยู่ในตัวเดียวกัน โดยทั่วไปจะไม่ผสมในตัวเองเนื่องจากตำแหน่งของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศไม่ สัมพันธ์กัน และมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ไม่พร้อมกัน ไส้เดือนดินจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน
อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ ประกอบด้วย 
–         อัณฑะ ( Testes ) ลักษณะเป็นก้อนสีขาวขนาดเล็กยื่นออกมาจากผนังของปล้อง
–         ปากกรวยรองรับสเปิร์ม ( Sperm funnel ) เป็นช่องรับสเปิร์มจากอัณฑะ
–         ท่อนำสเปิร์ม ( Vas deferens ) เป็นท่อรับสเปิร์มจากปากกรวยไปยังช่องสืนพันธุ์เพศผู้
–         ต่อมพรอสเตท ( Prostate gland ) เป็นต่อมสีขาวขนาดใหญ่มีรูปร่างเป็นก้อนแตกแขนงคล้ายกิ่งไม้ 1 คู่ ทำหน้าที่สร้างของเหลวหล่อเลี้ยงสเปิร์ม
–         ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ ( male pores )  มี 1 คู่ อยู่ตรงด้านท้องปล้องที่ 18
–         ถุงเก็บสเปิร์ม ( Seminal Vesicles ) มี 2 คู่ เป็นถุงขนาใหญ่อยู่ในปล้องที่ 11 และ 12 ทำหน้าที่เก็บและพัฒนาสเปิร์มที่สร้างจากอัณฑะ

อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย
–         รังไข่ ( Ovaries ) ทำหน้าที่สร้างไข่ 1 คู่  ติดอยู่กับเยื่อกั้น ( Septum ) ของปล้องที่12/13 ใน Pheretimaไข่จะเรียงตัวกันเป็นแถวอยู่ในพูรังไข่
–         ปากกรวยรองรับไข่ ( Ovarian funnel ) ทำหน้าที่รองรับไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วจากถุงไข่
–         ท่อนำไข่ ( Oviducts ) ท่อนำไข่เป็นท่อที่ต่อจากปากกรวยรองรับไข่ในปล้องที่ 13 เปิดออกไปยังรูตัวเมีย ตรงกึ่งกลางด้านท้องของปล้องที่ 14
–         สเปิร์มมาทีกา ( Spermathecaหรือ Seminal receptacles ) เป็นถุงเก็บสเปิร์มตัวอื่นที่ได้จากการจับคู่แลกเปลี่ยน เพื่อเก็บไว้ผสมกับไข่ มีอยู่ 3 คู่

การผสมพันธุ์ของไส้เดือนดิน 
ไส้เดือนดินโดยปกติจะผสมพันธุ์กันในช่วงกลางคืน โดยไส้เดือนดินสองตัวมาจับคู่กันโดยใช้ด้านท้องแนบกันและสลับหัวสลับหางกัน ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะแนบกับช่องสเปิร์มมาทีกาของอีกตัวหนึ่ง โดยมีปุ่มสืบพันธุ์กับเมือกบริเวณไคลเทลลัมยึดซึ่งกันและกันเอาไว้ สเปิร์มจากช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะส่งเข้าไปเก็บในถุงสเปิร์มมาที กาที่ละคู่จนครบทุกคู่ การจับคู่จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงแยกออกจากกัน ในขณะที่มีการจับคู่แลกเปลี่ยนสเปิร์มกัน ไส้เดือนดินทั้ง 2 ตัว จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างฉับพลัน กรณีเช่นสิ่งเร้าจากการสัมผัสและแสง เมื่อไส้เดือนดินแยกจากกัน ประมาณ 2-3 วัน จะมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณไคลเทลลัม เพื่อสร้างถุงไข่ ( Cocoon ) ต่อมเมือกจะสร้างเมือกคลุมบริเวณไคลเทลลัมและต่อมสร้างโคคูน ( Cocoon secreting gland ) จะสร้างเปลือกของโคคูน ซึ่งเป็นสารคล้ายไคติน สารนี้จะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศกลายเป็นแผ่นเหนียวๆ ต่อมาต่อมสร้างไข่ขาว ( Albumin secreting gland) จะขับสารอัลบูมินออกมาอยู่ในเปลือกของโคคูน Pheretimaซึ่ง มีช่องสืบพันธุ์เพศเมียอยู่ที่ไคลเทลลัม จะปล่อยไข่เข้าไปอยู่ในโคคูน หลังจากนั้น โคคูนจะแยกตัวออกจากผนังตัวของไส้เดือนดินคล้ายกับเป็นปลอกหลวมๆ เมื่อไส้เดือนหดตัวและเคลื่อนถอยหลัง โคคูนจะเคลื่อนไปข้างหน้า เมื่อเคลื่อนผ่านช่องเปิดของถุงเก็บสเปิร์ม ก็จะรับสเปิร์มเข้าไปในโคคูน และมีการปฏิสนธืภายในโคคูน เมื่อโคคูนหลุดออกจากตัวไส้เดือนดินปลายสองด้านของโคคูนก็จะหดตัวปิดสนิท เป็นถุงรูปไข่มีสีเหลืองอ่อนๆ ยาวประมาณ 2-2.4 มิลลิเมตร กว้างประมาณ1.2-2 มิลลิเมตร ถุงไข่แต่ละถุงจะใช้เวลา 8-10 สัปดาห์จึงฟักออกมา โดยทั่วไปจะมีไข่ 1-3 ฟอง ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ไส้เดือนบางชนิดอาจมีไข่มากถึง 60 ฟอง
ตัวอ่อนของไส้เดือนดินที่อยู่ในไข่ก็จะเจริญและพัฒนาร่างกายในส่วนต่างๆ โดยใช้สารอาหารที่อยู่ภายในถุงไข่ ระหว่างที่ตัวอ่อนเจริญเติบโตและพัฒนาอยู่ในถุงไข่นั้น ผนังของถุงไข่ก็จะเปลี่ยนสีไปด้วย โดยถุงไข่ที่ออกจากตัวใหม่ๆ จะมีสีจางๆ และเมื่อเวลาผ่านไปสีของถุงไข่ก็จะมีสีที่เข้มขึ้นตามลำดับ และจะฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา ไส้เดือนดินบางสายพันธุ์สามารถที่จะสืบพันธุ์แบบไม่ต้องเกิดการผสมกัน ระหว่างไข่กับสเปิร์มได้ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบ Parthenogenetically      จะพบลักษณะการสืบพันธุ์เช่นนี้ได้ในไส้เดือนดินสกุล Dendrobaena  เป็นต้น ซึ่งพบว่ามักจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยการผสมพันธุ์ นอกจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแล้วยังมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเซลล์ สืบพันธุ์ด้วยเช่น กระบวนการแบ่งเป็นชิ้นเล็ก และ กระบวนการงอกใหม่
การจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดิน

ไส้เดือนดินจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์(Animalia) ศักดิ์แอนนิลิดา (Phylum: Annelida) ชั้น โอลิโกซีตา (Class: Oligochaeta) ตระกูลโอพิสโธโพรา (Order: Opisthopora) สำหรับ วงศ์ (Family) ของไส้เดือนดินนั้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จัดจำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ที่แตกต่างกันออกไป และจากการจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดินล่าสุด โดย Renolds and Cook (1993) ได้จัดจำแนกไส้เดือนดินที่อยู่ในตระกูลโอพิสโธโพราทั้งหมดออกเป็น 21 วงศ์
วิธีการจัดจำแนกไส้เดือนดินอย่างง่าย
สามารถสังเกตได้จาก
1)  ขนาดและความยาวของลำตัว
2)  สีหรือแถบสีของลำตัว และ
3)  แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหาร
ในลำดับแรกจะแบ่งกลุ่มไส้เดือนเป็น  2  กลุ่มใหญ่ก่อน เป็น ไส้เดือนดินสีแดง และ ไส้เดือนดินสีเทา แล้วจึงพิจารณาถึงขนาดความยาวของลำตัว ถิ่นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของมันในลำดับถัดไป
ตัวอย่างสายพันธุ์ไส้เดือนดินสีเทา เช่น พันธุ์ Pheretimaposthumaซึ่งเป็นไส้เดือนดินพันธุ์ที่มีลำตัวสีเทา ขนาดใหญ่ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว อาศัยอยู่ในดินในสวนผลไม้ หรือในสนามหญ้า ในชั้นดินที่ค่อนข้างลึก กินเศษใบไม้ที่เน่าเปื่อย และดินบางส่วนเป็นอาหาร และไส้เดือนดินพันธุ์สีแดง เช่น พันธุ์ Pheretimapeguanaเป็นไส้เดือนดินที่มีลำตัวเป็นสีแดงออกม่วง ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ หรือ กองเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ที่มีความชื้นสูง กินมูลสัตว์ และเศษซากพืชที่เน่าเป็นอาหาร
ในปัจจุบันมีการจำแนกไส้เดือนดินทั่วโลกได้  4,000  กว่าชนิด สายพันธุ์ที่นำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์ทางการค้ามีประมาณ 15 ชนิด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของ Megadriliในวงค์Lumbricidaeซึ่งอาศัยอยู่ในขยะอินทรีย์และมูลสัตว์ เช่น  สายพันธุ์ Lumbricusrubellus, Eiseniafoetida, Eudriluseugeniae, Pheretimapeguana, Perionyxexcavatusเป็นต้น

สายพันธุ์ไส้เดือนที่นิยมเลี้ยง

  1. ไส้เดือนแอฟริกา EudrilusEugeniae, African Night Crawler ไส้เดือนแอฟริ กา สามารถย่อยสลายขยะปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีลำตัวใหญ่ จึงใช้ผลิตมูลไส้เดือนเป็นการค้าได้อีกด้วย  ไส้เดือนแอฟริกาชอบอยู่อาศัยที่อุณภูมิ 24 – 29 องศาเซลเซียส แต่สามารถทนอยู่อาศัยได้ที่อุณภูมิระหว่าง 7-32 องศาเซลเซียส
  2. ไส้เดือนลายเสือ Eiseniafoetida, Tiger worms, Brandling worms, Redworms, Red wiggler worms หรือ Manure worms  ไส้เดือนลายเสือ เป็นไส้เดือนกำจัดขยะยอดนิยมอันดับหนึ่งในต่างประเทศ และนำมาใช้ย่อยสลายขยะ และผลิตมูลไส้เดือนเป็นการค้ากันอย่างแพร่หลาย มีลำตัวเป็นลาย สีแดงน้ำตาลสลับสีเหลืองอ่อน คล้ายลายของเสือ ชอบอาศัยอยู่ตามขยะอินทรีย์ สิ่งเน่าสลายผุพัง ซากพืชซากสัตว์ และมูลสัตว์ต่างๆ มากกว่าที่จะอาศัยอยู่ในดินล้วนๆ ซึ่งพวกมันไม่ชอบ   ไส้เดือนลายเสือถูกนิยมนำมาใช้ย่อยสลายขยะในต่างประเทศ เพราะว่ามันสามารถอยู่อาศัยในถังขยะ และทนทานได้ดีกว่าไส้เดือนพันธุ์อื่นๆ พวกมันจะอยู่บริเวณตื้นๆไม่ลึกมากจากพื้นผิว ซึ่งต่างจากไส้เดือนแอฟริกาที่ชอบมุดอาศัยอยู่ลึกกว่า นอกจากนี้พวกมันยังทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่นๆด้วย ไส้เดือนลายเสือชอบอยู่อาศัยที่อุณภูมิ 15 – 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณภูมิที่พอเหมาะในต่างประเทศ แต่สามารถทนอยู่อาศัยได้ที่อุณภูมิระหว่าง 3-31 องศาเซลเซียส

3. ไส้เดือนขี้ตาแร่, Pheretimapeguana  ไส้เดือนขี้ตาแร่ เป็นไส้เดือนสายพันธุ์ไทย ราคาประหยัด เหมาะที่จะใช้กำจ้ดขยะอินทรีย์ จำพวกเศษผัก ผลไม้ มูลสัตว์ หรือเลี้ยงเพื่อผลิตมูลไส้เดือนจำหน่าย และยังสามารถเป็น   อาหารสัตว์ต่างๆไส้เดือน ขี้ตาแร่ เป็นไส้เดือนที่มีความตื่นตัวสูงมาก และจะเลื้อยหนีอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส

วัตถุประสงค์ของการนำไส้เดือนดินมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทย   มีจุดมุ่งหมายอยู่  2 ประการ  คือ
1. การเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสัตว์  เช่น  ปลา   เป็ด   เป็นต้น
2. นำมาใช้ย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอาหารเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เช่น เศษผัก ผลไม้หรือมูลสัตว์ เป็นต้น

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

เตรียมท่อปูนซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร หรือที่เรียกว่า พื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยท่อปูนซีเมนต์ดังกล่าวจะต้องเจาะท่อระบายที่พื้นข้างท่อไว้ เพื่อให้ระบายน้ำได้ เหตุที่ใช้ท่อปูนซีเมนต์เนื่องจากดูแลง่ายและควบคุมอุณหภูมิได้ ทำให้ไส้เดือนโตเร็ว ล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาวางให้เอียงด้านท่อระบายเล็กน้อยเพื่อให้น้ำจากมูลไส้เดือนไหล ออกได้ตลอดเวลา

นำปุ๋ยคอก (ขี้วัว หรือ ขี้ควาย) มาเทใส่ท่อปูนซีเมนต์ ประมาณ 70 เซนติเมตร จากนั้นตักน้ำเทใส่ลงไปแช่ประมาณ 2 ถัง แช่น้ำไว้ประมาณ 2-3 วัน (ที่เทน้ำใส่เพื่อให้ขี้วัวเกิดความยุ่ยสลายตัว เกิดความนิ่ม และให้กรดแก๊สลดลง) จากนั้นเปิดก๊อกน้ำที่ก้นท่อระบายน้ำออก โดยใช้ถังรองน้ำไว้ เพื่อนำไปฉีดหรือรดต้นไม้อื่นๆ ปล่อยให้ขี้วัว หมาดๆ ทดลองใช้มือกำดินขึ้นมาดูให้แน่น หากพบว่าปั้นเข้าติดกันได้ ถือว่าใช้ได้  เสร็จแล้วเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนนำมาปล่อยลงประมาณ 1 ท่อ/1,000 ตัว (หรือที่เรียกว่า สูตร 1 ตารางเมตร/1,000 ตัว) ทิ้งไว้ 3-4 วัน จากนั้นหาฟางข้าวหรือมุ้งเขียวมาคลุม เพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน เช่น จิ้งจก คางคก แล้วคอยดูว่าไส้เดือนใช้หางแทงดินขึ้นมาบนผิวมูลวัวหรือไม่ หากพบว่า มีการแทงมูลขึ้นมา จะพบว่าคล้ายกับมูลแมลงสาบ ก็แสดงว่าไส้เดือนปรับสภาพเข้ากับพื้นที่ได้ จากนั้นก็นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ นำมาโรยปากท่อ แล้วนำผ้าหรือฟางมาคลุมอีกชั้นหนึ่ง (เศษผัก ผลไม้ ประมาณ 2 กิโลกรัม/ท่อ)

ประมาณ 10 วัน มาดู แล้วใช้มือปาดกวาดมูลไส้เดือนออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ จะได้มูลไส้เดือน ประมาณ 20 กิโลกรัม/ต่อ/10 วัน และน้ำที่ได้จากท่อระบาย ประมาณ 20 ลิตร น้ำมูลไส้เดือนมาเป็นปุ๋ย และน้ำที่ระบายจากท่อนำไปพ่นฉีดพืชผักและได้ประโยชน์ทันที

ข้อสังเกต การขยายพันธุ์ไส้เดือน 1 ท่อ เมื่อนำมาปล่อยครั้งแรกจะประมาณ 1,000 ตัว เมื่อเก็บมูลไส้เดือนขายและสับเปลี่ยนไปมา ประมาณ 2 เดือน จะมีประชากรไส้เดือนเพิ่มประมาณ 4,000-5,000 ตัว/ท่อ ก็สามารถคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไปเพาะบ่อใหม่ต่อไปภายใน 2 เดือน

การย่อยสลายขยะของไส้เดือนดิน

ไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยพันธุ์ฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretimapeguana) และไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricusrubellus) โดยใช้อัตราส่วนปริมาณไส้เดือนต่อปริมาณขยะเท่ากับ 1 : 2 กิโลกรัม (ไส้เดือนสายพันธุ์ไทย 1 กก. มี 1,200 ตัว ส่วนไส้เดือนสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 กก. มี 970 ตัว) พบว่า ไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricusrubellus) มีความสามารถในการย่อยสลายขยะได้เร็วกว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยพันธุ์ฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretimapeguana) โดยใช้เวลาในย่อยสลายขยะน้อยกว่า 2 เท่าของไส้เดือนสายพันธุ์ไทย และไส้เดือนดินทั้งสองสายพันธุ์ใช้เวลาในการย่อยเศษผลไม้ได้รวดเร็วที่สุด และใช้เวลาในการย่อยเศษอาหารและเศษผักใกล้เคียงกัน
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษต่อไส้เดือนดิน ได้แก่ อัลดิคาร์ป เบนโนมิล บีเอชซี คาร์บาริลคาร์โบฟูราน คลอร์เดน เอนดริน เฮบตาคลอร์ มาลาไธออน พาราไธออน เป็นต้น
รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะ
1.  การกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในระดับครัวเรือน (แบบหลังบ้าน)

2.  การกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้

 บทบาทของไส้เดือนดินจะถูกมองว่ามีประโยชน์มากกว่ามีโทษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะไส้เดือนดินจะมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น โดยการชอนไชทำให้ดินร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำและอากาศไปสู่ดินได้ดีขึ้น  ไส้เดือนดินสามารถชอนไชลงใต้ดินได้ลึกกว่า 20 เมตร ซึ่งเป็นการไถพรวนทางธรรมชาติ ที่เครื่องกลทางการเกษตรไม่สามารถทำได้ และยังช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์โดยการช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน นอกจากนี้ยังพบว่าไส้เดือนดินมีประโยชน์ต่อพืช  ในการช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้วย และยังสามารถบ่งบอกถึงการปนเปื้อนสารเคมีในดิน  ด้วยการดูจากความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนที่มีอยู่  ปัจจุบันมีการนำ ไส้เดือนมาใช้ประโยชน์ในแง่ของการย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก  และใช้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของไส้เดือนดินจะอุดมไปด้วย กรดอะมิโนและสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ หลายชนิดที่เหมาะสมต่อการเจริญของสัตว์  ที่สำคัญ คือ สามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาทั่วไป  ปลาสวยงาม  กบ  และเป็นเหยื่อตกปลาที่ดี                 สำหรับการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินในที่นี้  จะเป็นการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน  เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับขุนพ่อแมพันธุ์ปลาสวยงาม  เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินที่ให้ผลผลิตในภาชนะ  หรือพื้นที่ขนาดเล็ก

.

    


Leave a comment

เลี้ยงเป็ด

ฐานที่ เลี้ยงเป็ด

พันธุ์เป็ดเทศ

เป็ดเทศกบินทร์บุรี

เป็ดเทศกบินทร์บุรี เป็นเป็ดที่ได้รับการวิจัยและพัฒนามาจากเป็ดเทศบาร์บารี่ ซึ่งมาจากประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2533 ลักษณะขนมีสีขาวปลอด ยกเว้นบริเวณกลางหัวมีจุดดำ มีการเจริญเติบโตเร็ว ให้ไข่ดก ปีละ 160-180 ฟอง/แม่เริ่มไข่เมื่ออายุ 6-7 เดือน เพศผู้โตเต็มที่ 4.5-5 กิโลกรัม เพศเมีย 2.8-3 กิโลกรัม กินอาหารวันละ 150-160 กรัม ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์ไปทั่วประเทศ ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากเลี้ยงง่ายในสภาพชนบท เติบโตเร็ว สามารถขุนส่งตลาดได้เมื่อน้ำหนักตัว 3.5 กิโลกรัม ภายใน 60-70 วัน อัตราการแลกเนื้อ 3.5 : 1 คุณภาพเนื้อสีแดงคล้ายเนื้อโคมีไขมันต่ำ เนื่องจากขนสีขาวทำให้ราคาดี เมื่อนำไปใช้ชำแหละสามารถขยายพันธุ์ได้เอง ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์สู่เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศ

เป็ดเทศท่าพระ

เป็ดเทศพันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็ดเนื้อเติบโตเร็ว ตัวใหญ่ ฟักไข่ได้เอง กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ จึงมีนโยบายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระเลี้ยงเพื่อปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 2527 มุ่งเน้นเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตไข่ด้านการให้ผลผลิต เป็ดเทศพันธุ์ท่าพระ 2 สามารถไข่ได้เพิ่มจำนวนจากเดิม 77 ฟองต่อปี เป็น 98 ฟองต่อปี อายุเริ่มไข่ 7 เดือน ไข่ปีละ 4-5 ชุด เฉลี่ย ชุดละ 17-20 ฟอง ช่วงห่างของการไข่แต่ละชุด 52 วัน น้ำหนักไข่เฉลี่ยฟองละ 75 กรัม และกำลังดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ผลผลิตไข่ 150 ฟองต่อปี อายุของเป็ดเทศที่เหมาะสมสำหรับขุนส่งตลาดอยู่ที่ 12 สัปดาห์ จะให้ผลผลิตสูงเริ่มจากอายุแรกเกิด-12 สัปดาห์ อาหารที่ใช้เลี้ยงจำนวน 7.25 กิโลกรัม จะได้น้ำหนักเป็ดเฉลี่ย 2.67 กิโลกรัม มีอัตราแลกเนื้อ 2.8 : 1

อาหารเป็ด

ในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสมสำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอาหาร ควรใช้ในปริมาณน้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavusสร้างสารพิษชื่อ alfatoxinซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพดในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด
อาหารเป็ดในบ้านเราสามารถแบ่งออกได้
1. อาหารสำเร็จรูป เป็น อาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตาม รางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก
อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุ สังเคราะห์ทางเคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่แดงสีเข้มจัด นิมยใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจากสารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก.
การให้อาหาร  คือ  หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว  คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ  3  ครั้ง  เช้า  กลางวัน  เย็น
ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์  จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ  5  เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด  ตามแอ่ง  มุมต่าง ๆ  ของคอก

วิธีการฟักไข่

เป็ดเทศเป็นสัตว์ปีกที่สามารถฟักไข่ได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะฟักได้ดี 80-90% แต่เมื่อนำไข่เป็ดมาฟักด้วยตู้ฟักไข่ การฟักออกของไข่เป็ดเทศไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเมื่อตอนเริ่มฟักไข่เป็ดเทศซึ่งมีเปลือกหนาและเยื่อหุ้มไข่ที่เหนียว การฟักออกนั้นต่ำมาก เพราะตู้ที่ฟักเป็นตู้ฟักไข่ไก่ และวิธีการฟักไข่เป็ดแตกต่างจากไข่ไก่ จึงเกิดปัญหาตายโคมมาก ในการฟักไข่เป็ดเทศมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. การคัดเลือกขนาดและรูปร่างของไข่เป็ดเทศเข้าฟัก
ขนาดไข่สม่ำเสมอ ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป มีน้ำหนักระหว่าง 65-75 กรัม รูปร่างไข่ไม่ควรกลมหรือแหลมเกินไป เปลือกไข่ควรเรียบไม่ขรุขระ ไม่มีรอยบุบ ร้าว หรือแตก

2. การเก็บรักษาไข่ก่อนนำเข้าตู้ฟัก
ตามปกติแล้วจะเก็บไข่เป็ดเข้าตู้ฟักทุก 7 วัน ในกรณีที่ไข่เป็ดไม่มาก แต่ถ้ามีมาก จะเก็บเข้าทุกๆ 3-4 วัน ในการเก็บไข่เพื่อรอนำเข้าตู้ฟัก ควรเก็บในห้องเย็น อุณหภูมิ 50-65 องศาฟาเรนไฮด์ และมีความชื้น 75% ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง

3. การทำความสะอาดเปลือกไข่เป็ดเทศ
ควรทำความสะอาดไข่ทันทีที่เก็บจากคอก ให้ใช้กระดาษทรายหยาบขัดออก ไม่ว่าจะเป็นมูลหรือสิ่งสกปรกอื่น อย่าล้างน้ำจะทำให้เชื้อโรคซึมแทรกเข้าไปตามรูพรุน เข้าสู่ฟองไข่และทำอันตรายต่อไข่ภายในได้ และขณะทำความสะอาดไข่ควรตรวจดูเปลือกไข่ที่บุบและร้าวด้วย เพื่อคัดออกเสียแต่แรก

4. การรมควันฆ่าเชื้อโรค  
หลังจากทำความสะอาดเปลือกไข่แล้ว นำมารมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เกาะติดอยู่บนเปลือกไข่ โดยเฉพาะเชื้อ Salmonella ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกเป็ดตายก่อนเจาะเปลือกไข่ โดยรมควันไข่เป็ดที่เก็บมากจากคอกก่อนนำไข่เข้าห้องเก็บไข่ ใช้ด่างทับทิม 20 กรัม ฟอร์มาลีน40% จำนวน 40 ซีซี ต่อพื้นที่ 100
ลูกบาศก์ฟุต
วิธีทำคือ ชั่งด่างทับทิมแล้วใส่ในชามสังกะสีเคลือบแล้วใส่ในตู้อบ เทฟอร์มาลีนลงในอ่างเคลือบแล้วรีบปิดประตูทันที ระวังอย่าดมควันฟอร์มาลีน เพราะจะทำให้เยื่อจมูก และตาอักเสบได้ ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วจึงนำไข่เข้าเก็บในห้องเก็บไข่ ข้อสำคัญคือ ห้ามรมควันไข่ที่ฟักไปแล้ว 24-72 ชม. แลไม่รมควันไข่ที่ลูกเป็ดกำลังเจาะเปลือกไข่ออก

5. การฟักไข่เป็ดเทศระยะ 1-10 วันของการฟัก
ไข่ที่ได้รับการเก็บไว้ในอุณหภูมิ 50-60 องศาฟาเรนไฮด์เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำเข้าตู้ฟักไข่ ในช่วงนี้อาจรมควันฆ่าเชื้ออีกครั้งหนึ่งได้ แต่ระวังอย่ารมควันไข่ที่เพิ่งเข้าตู้ฟักได้ไม่เกิน 24-72 ชม. ในช่วง 1-10 วันที่เข้าตู้ฟักอุณหภูมิ 100 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิปรอทตุ้มเปียก 86 องศาฟาเรนไฮด์ กลับไข่อย่างน้อยวันละ   6 ครั้ง

6. การกลับไข่
การฟักไข่เป็ดเทศโดยใช้เครื่องฟักไข่ไก่ ต้องปรับปรุงวิธีการวางไข่ในถาดฟักใหม่ ให้ไข่เป็ดนอนราบกับพื้นถาดโดยไม่มีลวดกั้น วางไข่ลงในถาดเต็มถาดเหลือช่องว่างไว้ประมาณวางไข่เป็ดได้ 2 ฟอง เพื่อให้ไข่กลิ้งได้เวลาเอียงถาดไข่ การกลับไข่ด้วยเครื่องฟักไข่อัตโนมัติก็โดยการตั้งเครื่องกลับไข่ให้ถาดไข่เอียงประมาณ 10-15 องศา ไข่เป็ดจะกลิ้งไปในระยะทางเท่ากับไข่ 2 ฟอง ที่เหลือช่องว่างเอาไว้ระหว่างไข่ในถาดกับขอบของถาดไข่ ถ้าเป็นเครื่องฟักธรรมดา ก็ใช้มือสวมถุงมือที่สะอาดๆ ลูบไปบนไข่ในถาดให้ไข่กลิ้ง หรือเคลื่อนที่ออกจากเดิมก็ได้ หรือจะทำคันโยกให้ถาดเอียงตามองศาดังกล่าว ถ้าไข่กลิ้งชนกัน ก็ให้ลดความเอียงลง

7. การฟักไข่เป็ดในระยะที่ 2 วันที่ 11-31 ของการฟัก
ในวันที่ 11 ของการฟักจะนำออกจากตู้ฟักมาส่องไข่ แยกไข่เชื้อตายออก แล้วนำไข่มีเชื้อเข้าตู้หนึ่ง ซึ่งเป็นตู้ฟักทีระบบให้ความร้อนและระบบพัดลมแยกออาจากกัน เพราะในช่วงวันที่ 11-31 ของการฟักไข่จะเปิดระบบให้ความร้อนเป็นเวลาแต่จะเปิดพัดลมตลอดเวลา ซึ่งจะเปิดประตูตู้ฟักไข่ไว้ตั้งแต่ 09.00-11.00 น. จึงปิดประตูตู้ฟักไข่แล้วเปิดระบบให้ความร้อนทำงาน, ในช่วงที่เปิดประตูตู้ฟักไข่ทิ้งไว้ เมื่อถึงเวลา 10.00 น. คือ ครบ 1 ชั่วโมง แล้วจะทำการพ่นน้ำที่ไข่เป็ดเทศทุกฟองให้เปียกแล้วทิ้งไว้อีก 1 ชม. จึงปิดตู้ฟักแล้วเปิดระบบให้ความร้อน ทำเช่นนี้ทุกวันจนถึงวันที่ 31 ของการฟัก อุณหภูมิของตู้ฟักไข่ 100 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิตุ้มเปียก 90-92 องศาฟาเรนไฮด์ การกลับไข่ควรกลับอย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง จะทำให้เชื้อแข็งแรง ฟักออกดีขึ้น ถ้าตู้ฟักที่ควบคุมความร้อนไม่ได้พ่นน้ำที่ไข่วันละ 2 ครั้ง ช่วงบ่ายโมงและสี่โมงครึ่ง น้ำที่ใช้พ่นควรมีอุณหภูมิเท่าตู้ฟักและเป็นน้ำสะอาดโดยผสมน้ำยาฆ่าเชื้อลงไปก็จะทำให้ไข่เป็ดมีเชื้อตายที่ 32 วัน น้อยลง

8. การฟักไข่เป็ดเทศในระยะที่ 3 วันที่ 32-35 ของการฟัก
วันที่ 32 จะนำไข่ออกจากตู้ฟักเพื่อนำมาส่องไข่ที่มีเชื้อแข็งแรงนำเข้าตู้เกิดไข่ ไข่เชื้อตายก็นำออกไป การนำไข่มีเชื้อเข้าตู้เกิดจะใส่ถาดโดยวางไข่ในแนวนอน จะไม่มีการกลับไข่หรือพ่นน้ำแต่อย่างใด ใช้อุณหภูมิ 98-99 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิตุ้มเปียก 94 องศาฟาเรนไฮด์ ความชื้นสัมพัทธ์ 86% ไข่เป็ดที่จะฟักออกได้ดีควรมีช่องอากาศภายในไข่ เท่ากับ 1 ใน 3 ของไข่ ลูกเป็ดบางตัวอาจเจาะออกเป็นตัวเมื่ออายุ 33 วัน จึงควรเก็บไข่ฟักให้ถึง 35 วัน และตู้เกิดควรแยกออกจากตู้ฟักไม่ควรใช้ตู้เดียวกัน เพราะถ้าควบคุมอุณหภูมิและความชื้นไม่ดี จะทำให้เกิดน้อยลงและที่สำคัญคือ ไม่แข็งแรงและทำให้อัตราการตายสูง เมื่อนำไปเลี้ยงในช่วงอาทิตย์แรก

โรคเป็ดเทศและการป้องกันเป็ดเป็นโรคน้อยกว่าไก่ หากเลี้ยงในพื้นคอกแห้ง ไม่เปียกชื้นแฉะ แล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดเทศที่สำคัญมีดังนี้
เป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีปัญหาเรื่องโรคน้อยกว่าไก่ หากทำการเลี้ยงในกรงตับด้วยแล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดที่สำคัญมีดังนี้

1. โรคอหิวาต์เป็ด
     สาเหตุ    เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
     อาการ    เป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด มีไข้สูงถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน มักจะจับกลุ่มกันอยู่ใกล้บริเวณรางน้ำ อุจจาระมีสีขาวปนเขียวและมีลักษณะเป็นยางเหนียว บางครั้งเป็ดจะตายอย่างกะทันหัน หรือถ้าเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อเข่า ข้อเท้าอักเสบบวมทำให้เคลื่อนไหวลำบากในเป็ดไข่จะทำให้ไข่ลดลงได้
     การรักษา  การใช้ยาซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะจะช่วยลดความเสียหายในฝูงเป็ดที่เริ่มเป็นระยะแรก ยาซัลฟา (ยาซัลฟา, ซัลฟาเมอราซีน, ซัลฟาเมทธารีน) ยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน, ออกซีเตตร้าซัยคลิน) ผสมอาหาร 500 กรัม ต่ออาหาร 1 ตัน จะช่วยลดความรุนแรงได้
     การป้องกัน ทำวัคซีนป้องกันอหิวาต์เป็ด โดยทำครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 2 เดือนและทำซ้ำทุก 3 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกตัวละ 1 ซี.ซี.

2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด)
     สาเหตุ  เกิดจากเชื้อไวรัส
     อาการ  เมื่อเป็นเป็ดจะแสดงอาการซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว เมื่อเป็นมากจะมีน้ำมูกไหลออกมาด้วยอุจจาระสีเขียวปนเหลือง บางครั้งมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทวารจะแดงช้ำหายใจลำบาก
การรักษา  ไม่มียารักษาโรคนี้ที่ได้ผล คงมีแต่การป้องกันเท่านั้น
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกัน ดังนี้
ครั้งแรก ทำเมื่อเป็ดอายุ 1 เดือน    ทำซ้ำทุกๆ 6 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก ตัวละ 1 ซี.ซี. หรือตามคำแนะนำในฉลากข้างขวด วัคซีนทั้งสองชนิด ซื้อได้ที่กรมปศุสัตว์ หรือที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ
ครั้งที่สอง เมื่อเป็ดอายุ 3 เดือน
ครั้งที่สาม เมื่อเป็ดอายุ 6 เดือน


Leave a comment

ไม้ใช้สอย


ไม้ใช้สอย

 

ยางนา (DipterocarpusalatusRoxb.) เป็นไม้ที่มีคุณค่าสำคัญยิ่งในทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชนิดหนึ่ง เพราะเป็นที่นิยมใช้สอยกันมากในการก่อสร้างบ้านเรือนและในการทำไม้อัดรวมทั้งส่งออกไปจำหน่ายยังต่าง ประเทศด้วย นอกจากนี้ยังให้น้ำมันยางซึ่งใช้ในการทำไม้ ยาเรือ ทำน้ำมันทาบ้าน ตลอดจนใช้เป็นยารักษาโรค

ไม้ชนิดนี้มีชื่อพื้นเมืองแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ยางนา ยางขาว ยาง ยางแม่น้ำ ยางหยวก (ทั่วไป) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย) ยางเนิน (จันทบุรี) ราลอย (สุรินทร์) ลอยด์ (นครพนม) ทองหลัก (ละว้า) ยางตัง (ชุมพร) จะดียล (เขมร) เคาะ (เชียงใหม่) ขะยาง (นครราชสีมา) กาดีล (ปราจีนบุรี) Kanyin, Kanyin-byv (พม่า) , Nhang,NhangKhao, Nhangmouk (ลาว) , Chhoeuteal than, Churtuk, Gnang (กัมพูชา) , Dzaunuoc, Dzau con raitrang (เวียดนาม)

ยางนานี้จัดอยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceaeสกุล Dipterocarpusมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเกาะบอร์เนียว ไม้ยางนาชอบขึ้น
อยู่ในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยเฉพาะในที่ราบริมน้ำทั่วไป การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติปกติไม่้ดีนัก จึงทำให้พบแต่ไม้ยางนาที่มีขนาดใหญ่เป็นส่วนมากกล้าไม้มีน้อย

 


Leave a comment

ฐานเศษฐกิจพอเพียง(ฐานปลา)

ฐานปลา
ปลาดุก

เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clariasgariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลำตัวยาว ครีบหลังและครีบก้นยาว ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลคล้ำอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลำตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ ครีบมีสีเข้ามกว่าลำตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดงนับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีป สำหรับในประเทศไทยได้ถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี โดยนำเข้ามาจากประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป ต่อมากรมประมงได้นำมาทดลองผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกอุย (C. macrocephalus) พบว่าลูกผสมระหว่างพ่อปลาดุกแอฟริกาและแม่ปลาดุกอุยมีผลการรอดสูง และมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด เนื้อมีรสชาติที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมและแพร่วิธีการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงดูสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนปัจจุบันนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งของไทย และเรียกชื่อลูกปลาผสมนี้ว่า “ปลาดุกบิ๊กอุย” แต่ในปัจจุบัน สถานะของปลาดุกแอฟริกาในประเทศไทย จากบางส่วนได้หลุดรอดและถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นชนิดหนึ่งที่คุกคามการอยู่รอดสัตว์น้ำพื้นเมืองของไทย สำหรับชื่ออื่น ๆ ที่เรียกปลาดุกแอฟริกา ก็ได้แก่ “ปลาดุกรัสเซีย”, “ปลาดุกเทศ” เป็นต้น