NOOPRAEW

ไม่มีใครรักเราเท่าพ่อกับแม่

เลี้ยงเป็ด

Leave a comment

ฐานที่ เลี้ยงเป็ด

พันธุ์เป็ดเทศ

เป็ดเทศกบินทร์บุรี

เป็ดเทศกบินทร์บุรี เป็นเป็ดที่ได้รับการวิจัยและพัฒนามาจากเป็ดเทศบาร์บารี่ ซึ่งมาจากประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2533 ลักษณะขนมีสีขาวปลอด ยกเว้นบริเวณกลางหัวมีจุดดำ มีการเจริญเติบโตเร็ว ให้ไข่ดก ปีละ 160-180 ฟอง/แม่เริ่มไข่เมื่ออายุ 6-7 เดือน เพศผู้โตเต็มที่ 4.5-5 กิโลกรัม เพศเมีย 2.8-3 กิโลกรัม กินอาหารวันละ 150-160 กรัม ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์ไปทั่วประเทศ ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากเลี้ยงง่ายในสภาพชนบท เติบโตเร็ว สามารถขุนส่งตลาดได้เมื่อน้ำหนักตัว 3.5 กิโลกรัม ภายใน 60-70 วัน อัตราการแลกเนื้อ 3.5 : 1 คุณภาพเนื้อสีแดงคล้ายเนื้อโคมีไขมันต่ำ เนื่องจากขนสีขาวทำให้ราคาดี เมื่อนำไปใช้ชำแหละสามารถขยายพันธุ์ได้เอง ปัจจุบันได้ขยายพันธุ์สู่เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศ

เป็ดเทศท่าพระ

เป็ดเทศพันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็ดเนื้อเติบโตเร็ว ตัวใหญ่ ฟักไข่ได้เอง กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ จึงมีนโยบายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระเลี้ยงเพื่อปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 2527 มุ่งเน้นเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตไข่ด้านการให้ผลผลิต เป็ดเทศพันธุ์ท่าพระ 2 สามารถไข่ได้เพิ่มจำนวนจากเดิม 77 ฟองต่อปี เป็น 98 ฟองต่อปี อายุเริ่มไข่ 7 เดือน ไข่ปีละ 4-5 ชุด เฉลี่ย ชุดละ 17-20 ฟอง ช่วงห่างของการไข่แต่ละชุด 52 วัน น้ำหนักไข่เฉลี่ยฟองละ 75 กรัม และกำลังดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ผลผลิตไข่ 150 ฟองต่อปี อายุของเป็ดเทศที่เหมาะสมสำหรับขุนส่งตลาดอยู่ที่ 12 สัปดาห์ จะให้ผลผลิตสูงเริ่มจากอายุแรกเกิด-12 สัปดาห์ อาหารที่ใช้เลี้ยงจำนวน 7.25 กิโลกรัม จะได้น้ำหนักเป็ดเฉลี่ย 2.67 กิโลกรัม มีอัตราแลกเนื้อ 2.8 : 1

อาหารเป็ด

ในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ผลิตอาหารสำหรับเป็ดหลายแบบ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารผสมสำเร็จรูป ซึ่งนำไปใช้ได้ทันที หัวอาหารซึ่งจะต้องผสมกับรำละเอียดและปลายข้าวก่อนนำไปใช้ หรืออาจซื้อวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมเอง เกษตรกรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวโพดเป็นอาหารเป็ด ถ้าหากจะใช้ข้าวโพดผสมเป็นอาหาร ควรใช้ในปริมาณน้อย และต้องแน่ใจว่าเป็นข้าวโพดคุณภาพดี ปราศจากเชื้อรา เนื่องจากเชื้อรา A,flavusสร้างสารพิษชื่อ alfatoxinซึ่งมีผลต่อลูกเป็ดเป็นอย่างมาก เกษตรกรจะพบว่าในหัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปจะใช้ข้าวโพดในปริมาณน้อย หรือไม่ใช้เลยจะดีที่สุด
อาหารเป็ดในบ้านเราสามารถแบ่งออกได้
1. อาหารสำเร็จรูป เป็น อาหารเม็ด ซึ่งมีใช้เลี้ยงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะไข่ ซึ่งมีผลดีก็คือการจัดการให้อาหารสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า เป็ดใช้พลังงานในการกินอาหารน้อยกว่าแบบอื่น รางน้ำสะอาดไม่ค่อยสกปรก ประหยัดอาหารได้ 15-20% เพราะหกหล่นน้อยถึงแม้มีการหกหล่นก็สามารถเก็บกินได้อาหารที่ให้จะไม่ติดตาม รางอาหารทำให้รางอาหารสะอาดอยู่เสมอ ไม่หมักหมมเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือ อาหารมีราคาแพง ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนด้วย
2. เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้หัวอาหารเป็ดเป็นหลักในการประกอบสูตรอาหาร หัวอาหารเป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบอาหารสัตว์พวกโปรตีนจาก พืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุและยาบางชนิด ยกเว้น พวกธัญพืช หรือวัตถุดิบบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหารของผุ้ซื้อแต่ละท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบบางอย่างราคาถูก เช่น ปลายข้าว รำละเอียด และรำหยาบ เมื่อผสมกันแล้วจะจได้อาหารสมดุลย์ที่มีโภชนะต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายสัตว์ ก่อนนำอาหารผสมนี้ไปเลี้ยงเป็ดต้องคลุกน้ำให้พอหมาดๆ ร่วนไม่เกาะเป็นก้อน จะช่วยให้เป็ดกินอาหารได้ดี ลดการฟุ้งกระจายและการหกหล่นได้มาก วิธีนี้จะมีความยุ่งยากกว่าวิธีแรก แต่ก็เป็นที่นิยมใช้อยู่ เพราะอาหารผสมจะมีราคาถูก
อาหารเป็ดในระยะไข่นั้นมักเติมสารเพิ่มสีในไข่ด้วยเป็นวัตถุ สังเคราะห์ทางเคมีพวกคาโรทีนอยส์ชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น Carophyll Red ใส่ลงไปในอาหารทำให้ไข่แดงมีสีเหลืองเข้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กรณีไข่เป็ด ถ้าไข่แดงสีเข้มจัด นิมยใช้ทำไข่เค็ม และราคาไข่เป็ดจะมีราคาแพงกว่าธรรมดาประมาณ 10 สตางค์/ฟอง ทั้งนี้เนื่องจากสารเพิ่มสีมีราคาแพงประมาณ 4,000 บาท/ก.ก.
การให้อาหาร  คือ  หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว  คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ  3  ครั้ง  เช้า  กลางวัน  เย็น
ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์  จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ  5  เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด  ตามแอ่ง  มุมต่าง ๆ  ของคอก

วิธีการฟักไข่

เป็ดเทศเป็นสัตว์ปีกที่สามารถฟักไข่ได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะฟักได้ดี 80-90% แต่เมื่อนำไข่เป็ดมาฟักด้วยตู้ฟักไข่ การฟักออกของไข่เป็ดเทศไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเมื่อตอนเริ่มฟักไข่เป็ดเทศซึ่งมีเปลือกหนาและเยื่อหุ้มไข่ที่เหนียว การฟักออกนั้นต่ำมาก เพราะตู้ที่ฟักเป็นตู้ฟักไข่ไก่ และวิธีการฟักไข่เป็ดแตกต่างจากไข่ไก่ จึงเกิดปัญหาตายโคมมาก ในการฟักไข่เป็ดเทศมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. การคัดเลือกขนาดและรูปร่างของไข่เป็ดเทศเข้าฟัก
ขนาดไข่สม่ำเสมอ ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป มีน้ำหนักระหว่าง 65-75 กรัม รูปร่างไข่ไม่ควรกลมหรือแหลมเกินไป เปลือกไข่ควรเรียบไม่ขรุขระ ไม่มีรอยบุบ ร้าว หรือแตก

2. การเก็บรักษาไข่ก่อนนำเข้าตู้ฟัก
ตามปกติแล้วจะเก็บไข่เป็ดเข้าตู้ฟักทุก 7 วัน ในกรณีที่ไข่เป็ดไม่มาก แต่ถ้ามีมาก จะเก็บเข้าทุกๆ 3-4 วัน ในการเก็บไข่เพื่อรอนำเข้าตู้ฟัก ควรเก็บในห้องเย็น อุณหภูมิ 50-65 องศาฟาเรนไฮด์ และมีความชื้น 75% ควรกลับไข่อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง

3. การทำความสะอาดเปลือกไข่เป็ดเทศ
ควรทำความสะอาดไข่ทันทีที่เก็บจากคอก ให้ใช้กระดาษทรายหยาบขัดออก ไม่ว่าจะเป็นมูลหรือสิ่งสกปรกอื่น อย่าล้างน้ำจะทำให้เชื้อโรคซึมแทรกเข้าไปตามรูพรุน เข้าสู่ฟองไข่และทำอันตรายต่อไข่ภายในได้ และขณะทำความสะอาดไข่ควรตรวจดูเปลือกไข่ที่บุบและร้าวด้วย เพื่อคัดออกเสียแต่แรก

4. การรมควันฆ่าเชื้อโรค  
หลังจากทำความสะอาดเปลือกไข่แล้ว นำมารมควันเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เกาะติดอยู่บนเปลือกไข่ โดยเฉพาะเชื้อ Salmonella ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกเป็ดตายก่อนเจาะเปลือกไข่ โดยรมควันไข่เป็ดที่เก็บมากจากคอกก่อนนำไข่เข้าห้องเก็บไข่ ใช้ด่างทับทิม 20 กรัม ฟอร์มาลีน40% จำนวน 40 ซีซี ต่อพื้นที่ 100
ลูกบาศก์ฟุต
วิธีทำคือ ชั่งด่างทับทิมแล้วใส่ในชามสังกะสีเคลือบแล้วใส่ในตู้อบ เทฟอร์มาลีนลงในอ่างเคลือบแล้วรีบปิดประตูทันที ระวังอย่าดมควันฟอร์มาลีน เพราะจะทำให้เยื่อจมูก และตาอักเสบได้ ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วจึงนำไข่เข้าเก็บในห้องเก็บไข่ ข้อสำคัญคือ ห้ามรมควันไข่ที่ฟักไปแล้ว 24-72 ชม. แลไม่รมควันไข่ที่ลูกเป็ดกำลังเจาะเปลือกไข่ออก

5. การฟักไข่เป็ดเทศระยะ 1-10 วันของการฟัก
ไข่ที่ได้รับการเก็บไว้ในอุณหภูมิ 50-60 องศาฟาเรนไฮด์เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำเข้าตู้ฟักไข่ ในช่วงนี้อาจรมควันฆ่าเชื้ออีกครั้งหนึ่งได้ แต่ระวังอย่ารมควันไข่ที่เพิ่งเข้าตู้ฟักได้ไม่เกิน 24-72 ชม. ในช่วง 1-10 วันที่เข้าตู้ฟักอุณหภูมิ 100 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิปรอทตุ้มเปียก 86 องศาฟาเรนไฮด์ กลับไข่อย่างน้อยวันละ   6 ครั้ง

6. การกลับไข่
การฟักไข่เป็ดเทศโดยใช้เครื่องฟักไข่ไก่ ต้องปรับปรุงวิธีการวางไข่ในถาดฟักใหม่ ให้ไข่เป็ดนอนราบกับพื้นถาดโดยไม่มีลวดกั้น วางไข่ลงในถาดเต็มถาดเหลือช่องว่างไว้ประมาณวางไข่เป็ดได้ 2 ฟอง เพื่อให้ไข่กลิ้งได้เวลาเอียงถาดไข่ การกลับไข่ด้วยเครื่องฟักไข่อัตโนมัติก็โดยการตั้งเครื่องกลับไข่ให้ถาดไข่เอียงประมาณ 10-15 องศา ไข่เป็ดจะกลิ้งไปในระยะทางเท่ากับไข่ 2 ฟอง ที่เหลือช่องว่างเอาไว้ระหว่างไข่ในถาดกับขอบของถาดไข่ ถ้าเป็นเครื่องฟักธรรมดา ก็ใช้มือสวมถุงมือที่สะอาดๆ ลูบไปบนไข่ในถาดให้ไข่กลิ้ง หรือเคลื่อนที่ออกจากเดิมก็ได้ หรือจะทำคันโยกให้ถาดเอียงตามองศาดังกล่าว ถ้าไข่กลิ้งชนกัน ก็ให้ลดความเอียงลง

7. การฟักไข่เป็ดในระยะที่ 2 วันที่ 11-31 ของการฟัก
ในวันที่ 11 ของการฟักจะนำออกจากตู้ฟักมาส่องไข่ แยกไข่เชื้อตายออก แล้วนำไข่มีเชื้อเข้าตู้หนึ่ง ซึ่งเป็นตู้ฟักทีระบบให้ความร้อนและระบบพัดลมแยกออาจากกัน เพราะในช่วงวันที่ 11-31 ของการฟักไข่จะเปิดระบบให้ความร้อนเป็นเวลาแต่จะเปิดพัดลมตลอดเวลา ซึ่งจะเปิดประตูตู้ฟักไข่ไว้ตั้งแต่ 09.00-11.00 น. จึงปิดประตูตู้ฟักไข่แล้วเปิดระบบให้ความร้อนทำงาน, ในช่วงที่เปิดประตูตู้ฟักไข่ทิ้งไว้ เมื่อถึงเวลา 10.00 น. คือ ครบ 1 ชั่วโมง แล้วจะทำการพ่นน้ำที่ไข่เป็ดเทศทุกฟองให้เปียกแล้วทิ้งไว้อีก 1 ชม. จึงปิดตู้ฟักแล้วเปิดระบบให้ความร้อน ทำเช่นนี้ทุกวันจนถึงวันที่ 31 ของการฟัก อุณหภูมิของตู้ฟักไข่ 100 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิตุ้มเปียก 90-92 องศาฟาเรนไฮด์ การกลับไข่ควรกลับอย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง จะทำให้เชื้อแข็งแรง ฟักออกดีขึ้น ถ้าตู้ฟักที่ควบคุมความร้อนไม่ได้พ่นน้ำที่ไข่วันละ 2 ครั้ง ช่วงบ่ายโมงและสี่โมงครึ่ง น้ำที่ใช้พ่นควรมีอุณหภูมิเท่าตู้ฟักและเป็นน้ำสะอาดโดยผสมน้ำยาฆ่าเชื้อลงไปก็จะทำให้ไข่เป็ดมีเชื้อตายที่ 32 วัน น้อยลง

8. การฟักไข่เป็ดเทศในระยะที่ 3 วันที่ 32-35 ของการฟัก
วันที่ 32 จะนำไข่ออกจากตู้ฟักเพื่อนำมาส่องไข่ที่มีเชื้อแข็งแรงนำเข้าตู้เกิดไข่ ไข่เชื้อตายก็นำออกไป การนำไข่มีเชื้อเข้าตู้เกิดจะใส่ถาดโดยวางไข่ในแนวนอน จะไม่มีการกลับไข่หรือพ่นน้ำแต่อย่างใด ใช้อุณหภูมิ 98-99 องศาฟาเรนไฮด์ อุณหภูมิตุ้มเปียก 94 องศาฟาเรนไฮด์ ความชื้นสัมพัทธ์ 86% ไข่เป็ดที่จะฟักออกได้ดีควรมีช่องอากาศภายในไข่ เท่ากับ 1 ใน 3 ของไข่ ลูกเป็ดบางตัวอาจเจาะออกเป็นตัวเมื่ออายุ 33 วัน จึงควรเก็บไข่ฟักให้ถึง 35 วัน และตู้เกิดควรแยกออกจากตู้ฟักไม่ควรใช้ตู้เดียวกัน เพราะถ้าควบคุมอุณหภูมิและความชื้นไม่ดี จะทำให้เกิดน้อยลงและที่สำคัญคือ ไม่แข็งแรงและทำให้อัตราการตายสูง เมื่อนำไปเลี้ยงในช่วงอาทิตย์แรก

โรคเป็ดเทศและการป้องกันเป็ดเป็นโรคน้อยกว่าไก่ หากเลี้ยงในพื้นคอกแห้ง ไม่เปียกชื้นแฉะ แล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดเทศที่สำคัญมีดังนี้
เป็ดเป็นสัตว์ปีกที่มีปัญหาเรื่องโรคน้อยกว่าไก่ หากทำการเลี้ยงในกรงตับด้วยแล้วปัญหาเรื่องโรคและอัตราการตายน้อยมาก โรคเป็ดที่สำคัญมีดังนี้

1. โรคอหิวาต์เป็ด
     สาเหตุ    เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
     อาการ    เป็ดจะซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด มีไข้สูงถ้าคลำดูที่คอและเท้าจะร้อน มักจะจับกลุ่มกันอยู่ใกล้บริเวณรางน้ำ อุจจาระมีสีขาวปนเขียวและมีลักษณะเป็นยางเหนียว บางครั้งเป็ดจะตายอย่างกะทันหัน หรือถ้าเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อเข่า ข้อเท้าอักเสบบวมทำให้เคลื่อนไหวลำบากในเป็ดไข่จะทำให้ไข่ลดลงได้
     การรักษา  การใช้ยาซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะจะช่วยลดความเสียหายในฝูงเป็ดที่เริ่มเป็นระยะแรก ยาซัลฟา (ยาซัลฟา, ซัลฟาเมอราซีน, ซัลฟาเมทธารีน) ยาปฏิชีวนะ (คลอเตตร้าซัยคลิน, ออกซีเตตร้าซัยคลิน) ผสมอาหาร 500 กรัม ต่ออาหาร 1 ตัน จะช่วยลดความรุนแรงได้
     การป้องกัน ทำวัคซีนป้องกันอหิวาต์เป็ด โดยทำครั้งแรกเมื่อเป็ดอายุ 2 เดือนและทำซ้ำทุก 3 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกตัวละ 1 ซี.ซี.

2. โรคดั๊กเพลก (กาฬโรคเป็ด)
     สาเหตุ  เกิดจากเชื้อไวรัส
     อาการ  เมื่อเป็นเป็ดจะแสดงอาการซึม ท้องร่วง เบื่ออาหาร ปีกตก ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมีน้ำตาไหลออกมาค่อนข้างเหนียว เมื่อเป็นมากจะมีน้ำมูกไหลออกมาด้วยอุจจาระสีเขียวปนเหลือง บางครั้งมีเลือดปน บริเวณรอบๆ ทวารจะแดงช้ำหายใจลำบาก
การรักษา  ไม่มียารักษาโรคนี้ที่ได้ผล คงมีแต่การป้องกันเท่านั้น
การป้องกัน โดยการทำวัคซีนป้องกัน ดังนี้
ครั้งแรก ทำเมื่อเป็ดอายุ 1 เดือน    ทำซ้ำทุกๆ 6 เดือน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก ตัวละ 1 ซี.ซี. หรือตามคำแนะนำในฉลากข้างขวด วัคซีนทั้งสองชนิด ซื้อได้ที่กรมปศุสัตว์ หรือที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ
ครั้งที่สอง เมื่อเป็ดอายุ 3 เดือน
ครั้งที่สาม เมื่อเป็ดอายุ 6 เดือน

Leave a comment