NOOPRAEW

ไม่มีใครรักเราเท่าพ่อกับแม่

การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

Leave a comment

 การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

ไส้เดือน  ( EARTHWORM)
ผู้รับผิดชอบ นางนงค์เยาว์ จันทร์อ้าย  นายมานิต กันธะอูปไส้เดือนดินจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ (Animalia) ศักดิ์แอนนิลิดา (Phylum: Annelida)  ชั้น โอลิโกซีตา (Class: Oligochaeta) ตระกูลโอพิสโธโพรา (Order: Opisthopora) สำหรับ วงศ์ (Family) ของไส้เดือนดินนั้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จัดจำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ที่แตกต่างกันออกไป และจากการจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดินล่าสุด โดย Renolds and Cook (1993) ได้จัดจำแนกไส้เดือนดินที่อยู่ในตระกูลโอพิสโธโพราทั้งหมดออกเป็น  21 วงศ์
การจัดอยู่ในกลุ่มตามลักษณะการย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ   แบ่งออกเป็น  2  กลุ่มใหญ่ตามที่อยู่อาศัยและนิสัยในการกินอาหาร  คือ
1.  ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์
2.  ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ใต้ดินโดยการขุดรูอยู่
โดยไส้เดือนดินที่อยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ในดินได้ดีกว่า และมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าด้วย โดยทั่วไปในธรรมชาติไส้เดือนดินมีอายุที่ยาวนาน ตั้งแต่ 4 -10 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของไส้เดือนดิน แต่เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงมักพบว่าไส้เดือนดินมีอายุสั้นลง โดยทั่วไปจะมีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี
ลักษณะของไส้เดือนดิน
1.  จัดเป็นผู้บริโภค ( consumer ) ระดับ Scarvengerกินเข้าไปย่อยภายใน
2.  มีลำตัวเป็นปล้อง ๆ ( Segmentation ) มีเยื่อ Cuticle คลุมผิวหนัง
3.  ผิวหนังบางชื้นใช้หายใจได้ เคลื่อนไหวโดยใช้เดือยรอบ ๆ ปล้อง ( Seta )
4.  ปล้องที่ 14, 15, 16 เรียกว่า Clitellum สร้างปลอกหุ้มไข่ ( Cocoon )
5.  เป็นกระเทยที่แท้จริง สร้างได้ทั้งไข่และอสุจิแต่ผสมกันในตัวเองไม่ได้
6.  มีกึ่น ( Gizzard ) ช่วยในการย่อยอาหาร
7.  มีอวัยวะขับถ่ายเรีบกว่า Nephridiaขับของเสียที่เป็นของเหลวออกทางรูผิวหนัง
8.  มีหัวใจเทียม ( pseudoheart ) อยู่ระหว่างปล้องที่ 8 – 13
9.  มีเลือดสีแดง Hemoglobin อยู่ในน้ำเลือด ( Plasma )
10.มีเส้นประสาททางด้านท้อง Ventral nerve cordลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน
ไส้เดือน  ( EARTHWORM)  ดินมักพบโดยทั่วไปในดิน เศษกองซากพืช มูลสัตว์ ที่ๆมีความชื้นพอสมควร ปัจจุบันไส้เดือนมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด โดยมีโครงสร้างที่มีลักษณะเหมือนกันคือ

ลักษณะภายนอกโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน 
ลักษณะภายนอกที่เด่นชัดของไส้เดือนดินคือการที่มีลำตัวเป็นปล้องตั้งแต่ส่วนหัว จนถึงส่วนท้าย มีรูปร่างเป็นรูปทรงกระบอก มีความยาว ในแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เมื่อโตเต็มที่จะมีปล้องประมาณ  120  ปล้อง แต่ละปล้องจะมีเดือยเล็กๆ เรียงอยู่โดยรอบปล้อง  ไม่มีส่วนหัวที่ชัดเจน  ไม่มีตา  มีไคลเทลลัม  ซึ่งจะเห็นได้ชัด ในระยะสืบพันธุ์ และยังประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่สำคัญ ดังนี้

1.  พรอสโตเมียม( Prostomium)  มี ลักษณะเป็นพูเนื้อที่ยืดหดได้ติดอยู่กับผิวด้านบนของช่องปาก เป็นตำแหน่งหน้าสุดของไส้เดือนดิน ทำหน้าที่คล้ายริมฝีปาก ไม่ถือว่าเป็นปล้อง มีหน้าที่สำหรับกวาดอาหารเข้าปาก
2.  เพอริสโตเมียม ( Peristomium ) ส่วนนี้นับเป็นปล้องแรกของไส้เดือนดิน มีลักษณะเป็นเนื้อบางๆ อยู่รอบช่องปากและยืดหดได้
3.  ช่องปาก อยู่ในปล่องที่ 1-3 เป็นช่องทางเข้าออกของอาหารเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะมีต่อมน้ำลายอยู่ในเยื่อบุช่องปากด้วย
4.  เดือยหรือขน ( Setae ) จะ มีลักษณะเป็นขนแข็งสั้น ซึ่งเป็นสารพวกไคติน ที่งอกออกมาบริเวณผนังชั้นนอก สามารถยืดหดหรือขยายได้ เดือนนี้มีหน้าที่ ในการช่วยเรื่องการยึดเกาะและเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน
5.  ช่องเปิดกลางหลัง ( Dorsal pore )  เป็น ช่องเปิดขนาดเล็กตั้งอยู่ในร่องระหว่างปล้อง บริเวณแนวกลางหลังสามารถพบช่องเปิดชนิดนี้ได้ในไส้เดือนดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นไส้เดือนจำพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือกึ่งน้ำ ในร่องระหว่างปล้องแรกๆ บริเวณส่วนหัวจะไม่ค่อยพบช่องเปิดด้านหลัง ช่องเปิดดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับช่องภายในลำตัวและของเหลวในช่องลำตัว มีหน้าที่ขับของเหลวหรือเมือกภายในลำตัวออกมาช่วยลำตัวภายนอกชุ่มชื่น ป้องกันการระคายเคือง ทำให้เคลื่อนไหวง่าย
6.  รูขับถ่ายของเสีย ( Nephridiopore ) เป็นรูที่มีขนาดเล็กมาก สังเกตเห็นได้ยาก เป็นรูสำหรับขับของเสียออกจากร่างกาย เป็นรูเปิดภายนอก ซึ่งมีอยู่เกือบทุกปล้อง  ยกเว้น 3-4 ปล้องแรก
7.  ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ ( Male pore ) เป็นช่องสำหรับปล่อยสเปิร์ม จะมีอยู่ 1 คู่ ตั้งอยู่บริเวณลำตัวด้านท้องหรือข้างท้อง ในแต่ละสายพันธุ์ช่องสืบพันธุ์อยู่ในปล้องที่ไม่เหมือนกัน มีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายหลอดเล็กยาวเข้าไปภายใน
8.  ช่องสืบพันธุ์เพศเมีย ( Female pore ) เป็นช่องสำหรับออกไข่ โดยทั่วไปมักตั้งอยู่ในปล้องถัดจากปล้องที่มีรังไข่ ( avary) มักจะพบเพียง 1 คู่ ตั้งอยู่ในร่องระหว่างปล้องหรือบนปล้อง ตำแหน่งที่ตั้งมักจะแตกต่างกันในไส้เดือนแต่ละพันธุ์
9.  ช่องเปิดสเปิร์มมาทีกา ( Spermathecalporse ) เป็น ช่องรับสเปิร์มจากไส้เดือนดินคู่ผสมอีกตัวหนึ่งขณะมีการผสมพันธุ์แลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน เมื่อรับสเปิร์มแล้วจะนำไปเก็บไว้ในถุงเก็บสเปิร์ม ( Seminal receptacle )
10. ปุ่มยึดสืบพันธุ์ ( Genital papilla ) เป็นอวัยวะที่ช่วยในการยึดเกาะขณะที่ไส้เดือนดินจับคู่ผสมพันธุ์กัน
11. ไคลเทลลัม ( Clitellum) เป็นอวัยวะที่ใช้ในการสร้างไข่ขาวหุ้มไข่ และสร้างเมือกโคคูน ไคลเทลลัมจะพบในไส้เดือนดินที่โตเต็มไวพร้อมที่ผสมพันธุ์แล้วเท่านั้น โดยจะตั้งอยู่บริเวฯปล้องด้านหน้าใกล้กับส่วนหัว ครอบคลุมปล้องตั้งแต่ 2-5 ปล้อง
12. ทวารหนัก ( Anus ) เป็นรูเปิดที่ค่อนข้างแคบเปิดออกในปล้องสุดท้าย ซึ่งใช้สำหรับขับกากอาหารที่ผ่านการย่อยและดูดซึมแล้วออกนอกลำตัว

โครงสร้างภายในของไส้เดือนดิน
ผนังร่างกายของไส้เดือนดิน  ประกอบ ด้วย ชั้นนอกสุดคือ คิวติเคิล และถัดลงมาคือ ชั้นอิพิเดอร์มิส ชั้นเนื้อเยื่อประสาท ชั้นกล้ามเนื้อตามขวางและชั้นกล้ามเนื้อตามยาวและถัดจาดชั้นกล้ามเนื้อตาม ยาวจะเป็นเนื้อเยื่อเพอริโตเนียม ซึ่งเป็นเยื่อบุที่กั้นผนังร่างกายจากช่องภายในลำตัว
ชั้นคิวติเคิล ( Cuticle ) เป็นชั้นที่บางที่สุด  เป็น ชั้นที่ไม่มีเซลล์ ไม่มีสี และโปร่งใส ประกอบด้วยคิวติเคิล2 ชั้น หรือมากกว่า แต่ละชั้นประกอบด้วยเส้นใย โปรตีนคอลลาจีเนียส ที่สานเข้าด้วยกันและมีชั้นของ โฮโมจีเนียส จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีโพลีแซคคาไรด์ และมีเจลลาติน เล็กน้อย ในชั้นคิวติเคิลจะมีบริเวณที่บางที่สุด คือ บริเวณที่มีอวัยวะรับความรู้สึก ซึ่งบริเวณนี้จะมีรอยบุ๋มของรูขนขนาดเล็กมากมายและมีขนละเอียดออกมาจากรูดัง กล่าว เป็นเซลล์รับความรู้สึก
ชั้นอิพิเดอร์มิส ( Epidermis) คือ เซลล์ชั้นเดียวที่เกิดจากเซลล์หลายชนิดที่แตกต่างกันรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย เซลล์ค้ำจุนที่มีรูปร่างเป็นแท่ง และเซลล์ต่อม โดยเซลล์ค้ำจุนเป็นเซลล์โครงสร้างหลักของชั้นอิพิเดอร์มิส ที่มีรูปร่าง เป็นแท่งเซลล์แท่งดังกล่าว นอกจากเป็นเซลล์โครงสร้างค้ำจุนแล้วยังเป็นเซลล์ที่สร้างสารคิวติเคิลให้กับ ชั้นคิวติเคิลด้วย สำหรับเซลล์ต่อม จะมีอยู่ 2 แบบ คือเซลล์เมือก ( Goblet cell ) และเซลล์ต่อมไข่ขาว ( Albumen cell ) โดย เซลล์ขับเมือกเหล่านี้จะขับเมือกผ่านไปยังผิวคิวติเคิลเพื่อป้องกันไม่ให้ น้ำระเหยออกจากตัว ทำให้ลำตัวชุ่มชื่นและเคลื่อนไหวในดินได้สะดวกและทำให้ออกซิเจนละลายใน บริเวณผนังลำตัวได้ และยังมีกลุ่มเซลล์รับความรู้สึกรวมกันเป็นกลุ่มแทรกตัวอยู่ระหว่างเซลล์ ค้ำจุน ซึ่งจะทำหน้าที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของการสัมผัสสิ่งต่างๆ
ชั้นกล้ามเนื้อเส้นรอบวง ( Circular muscle )  เป็น ชั้นกล้ามเนื้อที่ถัดจากชั้นอิพิเดอร์มิส ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อที่ขยายรอบๆ ลำตัวของไส้เดือนดิน ยกเว้นบริเวณตำแหน่งร่องระหว่างปล้องจะไม่มีเส้นใยกล้ามเนื้อนี้อยู่ เส้นใยกล้ามเนื้อตามเส้นรอบวงจะมีการจัดเรียงเส้นใยเป็นเป็นระเบียบกลาย เป็นกลุ่มเส้นใย โดยเส้นใยแต่ละกลุ่มจะถูกล้อมรอบด้วยแผ่นเนื้อเยื่อเชื่อมต่อรวมกลุ่มเส้นใย แต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ
ชั้นกล้ามเนื้อตามยาว ( Longitudinal muscle ) อยู่ ใต้ชั้นกล้ามเนื้อตามขวาง มีความหนามากกว่ากล้ามเนื้อรอบวง โดยกล้ามเนื้อชั้นในจะเรียงตัวเป็นกลุ่มลักษณะคล้ายบล็อก รอบลำตัวและยาวต่อเนื่องตลอดลำตัว

  1. ขนแข็ง ( Setae )
  2. ชั้นคิวติเคิล ( Cuticle )
  3. ชั้นอิพิเดอร์มิส ( Epidermis )
  4. ชั้นกล้ามเนื้อเส้นรอบวง ( Circular muscle )
  5. ชั้นกล้ามเนื้อตามยาว ( Longitudinal muscle )

ภาพอวัยวะภายในไส้เดือนดิน
ระบบย่อยอาหาร 
ทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน มีรูปร่างเป็นหลอดตรงธรรมดา ที่เชื่อมต่อจากปากในช่องแรกยาวไปจนถึงทวารซึ่งประกอบด้วยอวัยวะดังนี้
1. ปาก ( Mouth ) อยู่ใต้ริมฝีปากบน เป็นทางเข้าของอาหาร นำไปสู่ช่องปากซึ่งจะเป็นบริเวณที่มีต่อมน้ำลายผลิตสารหล่อลื่นอาหารที่กินเข้าไป ช่องปากจะอยู่ในปล้องที่ 1- 3
2. คอหอย ( Pharynx ) เป็นกล้ามเนื้อที่หนา และมีต่อมขับเมือก ตั้งอยู่ระหว่างปล้องที่ 3  ถึงปล้องที่ 6 ไส้เดือนดินใช้คอหอยในการดูดอาหารต่างๆ เข้าปากโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดึงดูดให้อนุภาคอาหารภายนอกผ่านเข้าไปในปาก
3. หลอดอาหาร ( Esophagus ) อยู่ระหว่างปล้องที่ 6 ถึงปล้องที่ 14 มีต่อมแคลซิเฟอรัส ช่วยดึงไออน ของ
แคลเซียม จากดินที่ปนมากับอาหารจำนวนมากนำเข้าสู่ทางเดินอาหาร เพื่อไม่ให้แคลเซียมในเลือดมากเกินไป เฉพาะพวกที่กินอาหารที่มีดินปนเข้าไปมากๆ เท่านั้นจึงจะมีต่อมแคลซิเฟอรัส ต่อจากหลอดอาหารจะพองโตออกเป็นหลอดพักอาหาร มีลักษณะเป็นถุงผนังบางๆ และ กึ๋น ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และ ทำหน้าที่บดอาหารให้ละเอียดเพื่อส่งต่อไปยังลำไส้
4.   ลำไส้ ( Intestine ) มี ลักษณะเป็นท่อตรงที่เริ่มจากปล้องที่ 14 ไปถึงทวารหนัก ผนังลำไส้ของไส้เดือนดินค่อนข้างบางและผนังลำไส้ด้านบนจะพับเข้าไปข้างใน ช่องทางเดินอาหารเรียกว่า  Typhlosole ทำให้มีพื้นที่ในการย่อยและดูดซึมอาหารได้มากขึ้นโดย สำหรับไส้เดือนน้ำจืดไม่มี Typhlosole   ผนัง ลำไส้ประกอบด้วยชั้นต่างๆ คือเยื่อบุช่องท้อง วิสเซอรอล อยู่ชั้นนอกสุดของลำไส้ ติดกับช่องลำตัว เซลล์บางเซลล์บนเยื่อนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลล์คลอราโกเจน ทำหน้าที่คล้ายตับของสัตว์ชั้นสูง คือสังเคราะห์และสมสมสาร ไกลโคเจน ไขมัน โดยเซลล์ไขมันในเนื้อเยื่อคลอราโกเจนที่มีขนาดโตเต็มที่จะหลุดออกมาอยู่ใน ช่องลำตัวเรียกว่า Eleocytesซึ่งจะกระจายไปยัง อวัยวะต่างๆและยังมีหน้าที่รวบรวมของเสียจากเลือดและของเหลวในช่องลำตัวโดย เป็นตัวดึงกรดอะมิโน ออกจากโปรตีน สกัดแอมโมเนีย ยูเรีย และสกัดสารซิลิกาออกจากอาหารที่กินเข้าไปแล้วขับถ่ายออกนอกร่างกายทางรูขับ ถ่ายของเสียหรือเนฟริเดีย  ถัดจากเยื่อบุช่องท้องวิส เซอรอลจะเป็นชั้นของกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อในลำไส้ของไส้เดือนดินประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 ชั้น คือชั้นในเป็นกล้ามเนื้อเส้นรอบวงและชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อตามยาว ซึ่งสลับกันกับกล้ามเนื้อของผนังร่างกาย และชั้นในสุดของลำไส้จะเป็นเยื่อบุลำไส้ ซึ่งประกอบด้วย เซลล์รูปแท่งและเซลล์ต่อม ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยชนิดต่างๆ

ระบบขับถ่าย
อวัยวะขับถ่ายของเสียหลักในไส้เดือนดินคือ เนฟริเดีย ( Nephridia )  ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่แยกของเสียต่างๆออกจากของเหลวในช่องลำตัวของไส้เดือนดืนแต่ละปล้องของไส้เดือนดินจะมี nephridiaที่เป็นท่อขดไปมาอยู่ปล้องละ 1 คู่ ทำหน้าที่รวบรวมของเหลวในช่องตัวจากปล้องที่อยู่ถัดไปทางด้านหน้าของลำตัว ของเหลวในช่องตัวจะเข้าทางปลายท่อ nephrostomeที่ มีซิเลียอยู่โดยรอบ แล้วไหลผ่านไปตามส่วนต่างๆของท่อ น้ำส่วนใหญ่พร้อมทั้งเกลือแร่บางชนิดที่ยังเป็นประโยชน์จุถูกดูดซึมกลับเข้า สู่กระแสเลือด ส่วนของเสียพวกไนโตรจินัสเบสจะถูกขับออกสู่ภายนอกทางช่อง nephridioporeที่อยู่ทางด้านท้อง

ระบบหมุนเวียนเลือด 
เป็นระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิดที่ยังไม่แบ่งเส้นเลือดแดง และ เส้นเลือดดำ โดยไส้เดือนดินจะใช้เส้นเลือด ( Vessel ) ใน การกระจายเลือดไปทั่วร่างกายโดยตรง ซึ่งในระบบการลำเลียงเลือดของไส้เดือนดิน ประกอบด้วยเส้นเลือดหลักอยู่ 3 เส้น คือเส้นเลือดกลางหลัง เส้นเลือดใต้ลำไส้ และเส้นเลือดด้านท้องและด้านข้างของเส้นประสาท โดยเส้นเลือดทั้ง 3 จะทอดตัวไปตลอดความยาวของลำตัว  นอกจากนี้จะมี เส้นเลือดด้านข้าง ซึ่งเป็นเส้นเลือดเชื่อมระหว่างเลือดกลางหลังกับเส้นเลือดใต้ลำไส้ในช่วง 13 ปล้องแรก เป็นเส้นเลือดขนาดใหญ่บีบหดตัวได้ดีมาก  เรียกว่าหัวใจเทียม ( Pseudoheart ) ,us]kp8^jน้ำเลือด จะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่หรือาจไม่มีก็ได้

ระบบการแลกเปลี่ยนก๊าซ 
ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินไม่มีอวัยวะพิเศษที่ใช้ในการหายใจ แต่จะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านทางผิวหนังโดยไส้เดือนดินจะขับเมือกและของเหลว ที่ออกมาจากรูขับถ่ายของเสียเพื่อเป็นตัวทำละลายออกซิเจนจากอากาศแล้วซึม ผ่านผิวตัวเข้าไปในหลอดเลือดแล้ว ละลายอยู่ใน น้ำเลือดต่อไป
ระบบประสาท 
ระบบประสาทของไส้เดือนดิน ประกอบสมองที่มีลักษณะเป็นสองพู เพราะเกิดจากปมประสาทด้านหน้าหลอดอาหารมาเชื่อมรวมกันอยู่เหนือหลอดอาหาร ปมประสาทสมอง 1 คู่ อยู่เหนือคอหอยปล้องที่ 3 เส้นประสาทรอบคอหอย 2 เส้น อ้อมรอบคอหอยข้างละเส้น  เส้นประสาทใหญ่ด้านท้องจะมีปมประสาทที่ปล้องประจำอยู่ทุกปล้อง  ไส้เดือนดินยังไม่มีอวัยวะรับความรู้สึกใดๆ มีเพียงเซลล์รับความรู้สึก ( Sensory Cells )  ที่ กระจายอยู่บริเวณผิวหนัง โดยเซลล์รับความรู้สึกแต่ละเซลล์จะมีขนเล็กๆ ยื่นออกมาเพื่อรับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งเซลล์รับความรู้สึกเหล่านี้เชื่อมต่อกับระบบประสาท นอกจากเซลล์รับความรู้สึกแล้ว ยังมีเซลล์รับแสง ( Photoreceptor cells ) ใน ชั้นของเอพิเดอร์มิส โดยจะมีมากบริเวณริมฝีปากบน ปล้องส่วนหัวและส่วนท้ายของลำตัว มีหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงไปยังระบบประสาท ถ้ามีแสงสว่างมากเกินไปพวกมันจะเคลื่อนที่หนีเข้าไปอยู่ในที่มืด

รูปภาพแสดงระบบประสาทของไส้เดือนดิน
ระบบสืบพันธุ์ 
ไส้เดือน ดินเป็นสัตว์ที่มีทั้งรังไข่และอัณฑะอยู่ในตัวเดียวกัน โดยทั่วไปจะไม่ผสมในตัวเองเนื่องจากตำแหน่งของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศไม่ สัมพันธ์กัน และมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ไม่พร้อมกัน ไส้เดือนดินจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน
อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ ประกอบด้วย 
–         อัณฑะ ( Testes ) ลักษณะเป็นก้อนสีขาวขนาดเล็กยื่นออกมาจากผนังของปล้อง
–         ปากกรวยรองรับสเปิร์ม ( Sperm funnel ) เป็นช่องรับสเปิร์มจากอัณฑะ
–         ท่อนำสเปิร์ม ( Vas deferens ) เป็นท่อรับสเปิร์มจากปากกรวยไปยังช่องสืนพันธุ์เพศผู้
–         ต่อมพรอสเตท ( Prostate gland ) เป็นต่อมสีขาวขนาดใหญ่มีรูปร่างเป็นก้อนแตกแขนงคล้ายกิ่งไม้ 1 คู่ ทำหน้าที่สร้างของเหลวหล่อเลี้ยงสเปิร์ม
–         ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ ( male pores )  มี 1 คู่ อยู่ตรงด้านท้องปล้องที่ 18
–         ถุงเก็บสเปิร์ม ( Seminal Vesicles ) มี 2 คู่ เป็นถุงขนาใหญ่อยู่ในปล้องที่ 11 และ 12 ทำหน้าที่เก็บและพัฒนาสเปิร์มที่สร้างจากอัณฑะ

อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย
–         รังไข่ ( Ovaries ) ทำหน้าที่สร้างไข่ 1 คู่  ติดอยู่กับเยื่อกั้น ( Septum ) ของปล้องที่12/13 ใน Pheretimaไข่จะเรียงตัวกันเป็นแถวอยู่ในพูรังไข่
–         ปากกรวยรองรับไข่ ( Ovarian funnel ) ทำหน้าที่รองรับไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วจากถุงไข่
–         ท่อนำไข่ ( Oviducts ) ท่อนำไข่เป็นท่อที่ต่อจากปากกรวยรองรับไข่ในปล้องที่ 13 เปิดออกไปยังรูตัวเมีย ตรงกึ่งกลางด้านท้องของปล้องที่ 14
–         สเปิร์มมาทีกา ( Spermathecaหรือ Seminal receptacles ) เป็นถุงเก็บสเปิร์มตัวอื่นที่ได้จากการจับคู่แลกเปลี่ยน เพื่อเก็บไว้ผสมกับไข่ มีอยู่ 3 คู่

การผสมพันธุ์ของไส้เดือนดิน 
ไส้เดือนดินโดยปกติจะผสมพันธุ์กันในช่วงกลางคืน โดยไส้เดือนดินสองตัวมาจับคู่กันโดยใช้ด้านท้องแนบกันและสลับหัวสลับหางกัน ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะแนบกับช่องสเปิร์มมาทีกาของอีกตัวหนึ่ง โดยมีปุ่มสืบพันธุ์กับเมือกบริเวณไคลเทลลัมยึดซึ่งกันและกันเอาไว้ สเปิร์มจากช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะส่งเข้าไปเก็บในถุงสเปิร์มมาที กาที่ละคู่จนครบทุกคู่ การจับคู่จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงแยกออกจากกัน ในขณะที่มีการจับคู่แลกเปลี่ยนสเปิร์มกัน ไส้เดือนดินทั้ง 2 ตัว จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างฉับพลัน กรณีเช่นสิ่งเร้าจากการสัมผัสและแสง เมื่อไส้เดือนดินแยกจากกัน ประมาณ 2-3 วัน จะมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณไคลเทลลัม เพื่อสร้างถุงไข่ ( Cocoon ) ต่อมเมือกจะสร้างเมือกคลุมบริเวณไคลเทลลัมและต่อมสร้างโคคูน ( Cocoon secreting gland ) จะสร้างเปลือกของโคคูน ซึ่งเป็นสารคล้ายไคติน สารนี้จะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศกลายเป็นแผ่นเหนียวๆ ต่อมาต่อมสร้างไข่ขาว ( Albumin secreting gland) จะขับสารอัลบูมินออกมาอยู่ในเปลือกของโคคูน Pheretimaซึ่ง มีช่องสืบพันธุ์เพศเมียอยู่ที่ไคลเทลลัม จะปล่อยไข่เข้าไปอยู่ในโคคูน หลังจากนั้น โคคูนจะแยกตัวออกจากผนังตัวของไส้เดือนดินคล้ายกับเป็นปลอกหลวมๆ เมื่อไส้เดือนหดตัวและเคลื่อนถอยหลัง โคคูนจะเคลื่อนไปข้างหน้า เมื่อเคลื่อนผ่านช่องเปิดของถุงเก็บสเปิร์ม ก็จะรับสเปิร์มเข้าไปในโคคูน และมีการปฏิสนธืภายในโคคูน เมื่อโคคูนหลุดออกจากตัวไส้เดือนดินปลายสองด้านของโคคูนก็จะหดตัวปิดสนิท เป็นถุงรูปไข่มีสีเหลืองอ่อนๆ ยาวประมาณ 2-2.4 มิลลิเมตร กว้างประมาณ1.2-2 มิลลิเมตร ถุงไข่แต่ละถุงจะใช้เวลา 8-10 สัปดาห์จึงฟักออกมา โดยทั่วไปจะมีไข่ 1-3 ฟอง ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ไส้เดือนบางชนิดอาจมีไข่มากถึง 60 ฟอง
ตัวอ่อนของไส้เดือนดินที่อยู่ในไข่ก็จะเจริญและพัฒนาร่างกายในส่วนต่างๆ โดยใช้สารอาหารที่อยู่ภายในถุงไข่ ระหว่างที่ตัวอ่อนเจริญเติบโตและพัฒนาอยู่ในถุงไข่นั้น ผนังของถุงไข่ก็จะเปลี่ยนสีไปด้วย โดยถุงไข่ที่ออกจากตัวใหม่ๆ จะมีสีจางๆ และเมื่อเวลาผ่านไปสีของถุงไข่ก็จะมีสีที่เข้มขึ้นตามลำดับ และจะฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา ไส้เดือนดินบางสายพันธุ์สามารถที่จะสืบพันธุ์แบบไม่ต้องเกิดการผสมกัน ระหว่างไข่กับสเปิร์มได้ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบ Parthenogenetically      จะพบลักษณะการสืบพันธุ์เช่นนี้ได้ในไส้เดือนดินสกุล Dendrobaena  เป็นต้น ซึ่งพบว่ามักจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยการผสมพันธุ์ นอกจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแล้วยังมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเซลล์ สืบพันธุ์ด้วยเช่น กระบวนการแบ่งเป็นชิ้นเล็ก และ กระบวนการงอกใหม่
การจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดิน

ไส้เดือนดินจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์(Animalia) ศักดิ์แอนนิลิดา (Phylum: Annelida) ชั้น โอลิโกซีตา (Class: Oligochaeta) ตระกูลโอพิสโธโพรา (Order: Opisthopora) สำหรับ วงศ์ (Family) ของไส้เดือนดินนั้น มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จัดจำแนกออกเป็นจำนวนวงศ์ที่แตกต่างกันออกไป และจากการจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนดินล่าสุด โดย Renolds and Cook (1993) ได้จัดจำแนกไส้เดือนดินที่อยู่ในตระกูลโอพิสโธโพราทั้งหมดออกเป็น 21 วงศ์
วิธีการจัดจำแนกไส้เดือนดินอย่างง่าย
สามารถสังเกตได้จาก
1)  ขนาดและความยาวของลำตัว
2)  สีหรือแถบสีของลำตัว และ
3)  แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหาร
ในลำดับแรกจะแบ่งกลุ่มไส้เดือนเป็น  2  กลุ่มใหญ่ก่อน เป็น ไส้เดือนดินสีแดง และ ไส้เดือนดินสีเทา แล้วจึงพิจารณาถึงขนาดความยาวของลำตัว ถิ่นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของมันในลำดับถัดไป
ตัวอย่างสายพันธุ์ไส้เดือนดินสีเทา เช่น พันธุ์ Pheretimaposthumaซึ่งเป็นไส้เดือนดินพันธุ์ที่มีลำตัวสีเทา ขนาดใหญ่ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว อาศัยอยู่ในดินในสวนผลไม้ หรือในสนามหญ้า ในชั้นดินที่ค่อนข้างลึก กินเศษใบไม้ที่เน่าเปื่อย และดินบางส่วนเป็นอาหาร และไส้เดือนดินพันธุ์สีแดง เช่น พันธุ์ Pheretimapeguanaเป็นไส้เดือนดินที่มีลำตัวเป็นสีแดงออกม่วง ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ หรือ กองเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ที่มีความชื้นสูง กินมูลสัตว์ และเศษซากพืชที่เน่าเป็นอาหาร
ในปัจจุบันมีการจำแนกไส้เดือนดินทั่วโลกได้  4,000  กว่าชนิด สายพันธุ์ที่นำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์ทางการค้ามีประมาณ 15 ชนิด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของ Megadriliในวงค์Lumbricidaeซึ่งอาศัยอยู่ในขยะอินทรีย์และมูลสัตว์ เช่น  สายพันธุ์ Lumbricusrubellus, Eiseniafoetida, Eudriluseugeniae, Pheretimapeguana, Perionyxexcavatusเป็นต้น

สายพันธุ์ไส้เดือนที่นิยมเลี้ยง

  1. ไส้เดือนแอฟริกา EudrilusEugeniae, African Night Crawler ไส้เดือนแอฟริ กา สามารถย่อยสลายขยะปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีลำตัวใหญ่ จึงใช้ผลิตมูลไส้เดือนเป็นการค้าได้อีกด้วย  ไส้เดือนแอฟริกาชอบอยู่อาศัยที่อุณภูมิ 24 – 29 องศาเซลเซียส แต่สามารถทนอยู่อาศัยได้ที่อุณภูมิระหว่าง 7-32 องศาเซลเซียส
  2. ไส้เดือนลายเสือ Eiseniafoetida, Tiger worms, Brandling worms, Redworms, Red wiggler worms หรือ Manure worms  ไส้เดือนลายเสือ เป็นไส้เดือนกำจัดขยะยอดนิยมอันดับหนึ่งในต่างประเทศ และนำมาใช้ย่อยสลายขยะ และผลิตมูลไส้เดือนเป็นการค้ากันอย่างแพร่หลาย มีลำตัวเป็นลาย สีแดงน้ำตาลสลับสีเหลืองอ่อน คล้ายลายของเสือ ชอบอาศัยอยู่ตามขยะอินทรีย์ สิ่งเน่าสลายผุพัง ซากพืชซากสัตว์ และมูลสัตว์ต่างๆ มากกว่าที่จะอาศัยอยู่ในดินล้วนๆ ซึ่งพวกมันไม่ชอบ   ไส้เดือนลายเสือถูกนิยมนำมาใช้ย่อยสลายขยะในต่างประเทศ เพราะว่ามันสามารถอยู่อาศัยในถังขยะ และทนทานได้ดีกว่าไส้เดือนพันธุ์อื่นๆ พวกมันจะอยู่บริเวณตื้นๆไม่ลึกมากจากพื้นผิว ซึ่งต่างจากไส้เดือนแอฟริกาที่ชอบมุดอาศัยอยู่ลึกกว่า นอกจากนี้พวกมันยังทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่นๆด้วย ไส้เดือนลายเสือชอบอยู่อาศัยที่อุณภูมิ 15 – 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณภูมิที่พอเหมาะในต่างประเทศ แต่สามารถทนอยู่อาศัยได้ที่อุณภูมิระหว่าง 3-31 องศาเซลเซียส

3. ไส้เดือนขี้ตาแร่, Pheretimapeguana  ไส้เดือนขี้ตาแร่ เป็นไส้เดือนสายพันธุ์ไทย ราคาประหยัด เหมาะที่จะใช้กำจ้ดขยะอินทรีย์ จำพวกเศษผัก ผลไม้ มูลสัตว์ หรือเลี้ยงเพื่อผลิตมูลไส้เดือนจำหน่าย และยังสามารถเป็น   อาหารสัตว์ต่างๆไส้เดือน ขี้ตาแร่ เป็นไส้เดือนที่มีความตื่นตัวสูงมาก และจะเลื้อยหนีอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส

วัตถุประสงค์ของการนำไส้เดือนดินมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทย   มีจุดมุ่งหมายอยู่  2 ประการ  คือ
1. การเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสัตว์  เช่น  ปลา   เป็ด   เป็นต้น
2. นำมาใช้ย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอาหารเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เช่น เศษผัก ผลไม้หรือมูลสัตว์ เป็นต้น

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

เตรียมท่อปูนซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร หรือที่เรียกว่า พื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยท่อปูนซีเมนต์ดังกล่าวจะต้องเจาะท่อระบายที่พื้นข้างท่อไว้ เพื่อให้ระบายน้ำได้ เหตุที่ใช้ท่อปูนซีเมนต์เนื่องจากดูแลง่ายและควบคุมอุณหภูมิได้ ทำให้ไส้เดือนโตเร็ว ล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาวางให้เอียงด้านท่อระบายเล็กน้อยเพื่อให้น้ำจากมูลไส้เดือนไหล ออกได้ตลอดเวลา

นำปุ๋ยคอก (ขี้วัว หรือ ขี้ควาย) มาเทใส่ท่อปูนซีเมนต์ ประมาณ 70 เซนติเมตร จากนั้นตักน้ำเทใส่ลงไปแช่ประมาณ 2 ถัง แช่น้ำไว้ประมาณ 2-3 วัน (ที่เทน้ำใส่เพื่อให้ขี้วัวเกิดความยุ่ยสลายตัว เกิดความนิ่ม และให้กรดแก๊สลดลง) จากนั้นเปิดก๊อกน้ำที่ก้นท่อระบายน้ำออก โดยใช้ถังรองน้ำไว้ เพื่อนำไปฉีดหรือรดต้นไม้อื่นๆ ปล่อยให้ขี้วัว หมาดๆ ทดลองใช้มือกำดินขึ้นมาดูให้แน่น หากพบว่าปั้นเข้าติดกันได้ ถือว่าใช้ได้  เสร็จแล้วเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนนำมาปล่อยลงประมาณ 1 ท่อ/1,000 ตัว (หรือที่เรียกว่า สูตร 1 ตารางเมตร/1,000 ตัว) ทิ้งไว้ 3-4 วัน จากนั้นหาฟางข้าวหรือมุ้งเขียวมาคลุม เพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน เช่น จิ้งจก คางคก แล้วคอยดูว่าไส้เดือนใช้หางแทงดินขึ้นมาบนผิวมูลวัวหรือไม่ หากพบว่า มีการแทงมูลขึ้นมา จะพบว่าคล้ายกับมูลแมลงสาบ ก็แสดงว่าไส้เดือนปรับสภาพเข้ากับพื้นที่ได้ จากนั้นก็นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ นำมาโรยปากท่อ แล้วนำผ้าหรือฟางมาคลุมอีกชั้นหนึ่ง (เศษผัก ผลไม้ ประมาณ 2 กิโลกรัม/ท่อ)

ประมาณ 10 วัน มาดู แล้วใช้มือปาดกวาดมูลไส้เดือนออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ จะได้มูลไส้เดือน ประมาณ 20 กิโลกรัม/ต่อ/10 วัน และน้ำที่ได้จากท่อระบาย ประมาณ 20 ลิตร น้ำมูลไส้เดือนมาเป็นปุ๋ย และน้ำที่ระบายจากท่อนำไปพ่นฉีดพืชผักและได้ประโยชน์ทันที

ข้อสังเกต การขยายพันธุ์ไส้เดือน 1 ท่อ เมื่อนำมาปล่อยครั้งแรกจะประมาณ 1,000 ตัว เมื่อเก็บมูลไส้เดือนขายและสับเปลี่ยนไปมา ประมาณ 2 เดือน จะมีประชากรไส้เดือนเพิ่มประมาณ 4,000-5,000 ตัว/ท่อ ก็สามารถคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไปเพาะบ่อใหม่ต่อไปภายใน 2 เดือน

การย่อยสลายขยะของไส้เดือนดิน

ไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยพันธุ์ฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretimapeguana) และไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricusrubellus) โดยใช้อัตราส่วนปริมาณไส้เดือนต่อปริมาณขยะเท่ากับ 1 : 2 กิโลกรัม (ไส้เดือนสายพันธุ์ไทย 1 กก. มี 1,200 ตัว ส่วนไส้เดือนสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 กก. มี 970 ตัว) พบว่า ไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricusrubellus) มีความสามารถในการย่อยสลายขยะได้เร็วกว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยพันธุ์ฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretimapeguana) โดยใช้เวลาในย่อยสลายขยะน้อยกว่า 2 เท่าของไส้เดือนสายพันธุ์ไทย และไส้เดือนดินทั้งสองสายพันธุ์ใช้เวลาในการย่อยเศษผลไม้ได้รวดเร็วที่สุด และใช้เวลาในการย่อยเศษอาหารและเศษผักใกล้เคียงกัน
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษต่อไส้เดือนดิน ได้แก่ อัลดิคาร์ป เบนโนมิล บีเอชซี คาร์บาริลคาร์โบฟูราน คลอร์เดน เอนดริน เฮบตาคลอร์ มาลาไธออน พาราไธออน เป็นต้น
รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะ
1.  การกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในระดับครัวเรือน (แบบหลังบ้าน)

2.  การกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้

 บทบาทของไส้เดือนดินจะถูกมองว่ามีประโยชน์มากกว่ามีโทษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะไส้เดือนดินจะมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น โดยการชอนไชทำให้ดินร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำและอากาศไปสู่ดินได้ดีขึ้น  ไส้เดือนดินสามารถชอนไชลงใต้ดินได้ลึกกว่า 20 เมตร ซึ่งเป็นการไถพรวนทางธรรมชาติ ที่เครื่องกลทางการเกษตรไม่สามารถทำได้ และยังช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์โดยการช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารแก่ดิน นอกจากนี้ยังพบว่าไส้เดือนดินมีประโยชน์ต่อพืช  ในการช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้วย และยังสามารถบ่งบอกถึงการปนเปื้อนสารเคมีในดิน  ด้วยการดูจากความหนาแน่นของประชากรไส้เดือนที่มีอยู่  ปัจจุบันมีการนำ ไส้เดือนมาใช้ประโยชน์ในแง่ของการย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก  และใช้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของไส้เดือนดินจะอุดมไปด้วย กรดอะมิโนและสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ หลายชนิดที่เหมาะสมต่อการเจริญของสัตว์  ที่สำคัญ คือ สามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาทั่วไป  ปลาสวยงาม  กบ  และเป็นเหยื่อตกปลาที่ดี                 สำหรับการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินในที่นี้  จะเป็นการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน  เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับขุนพ่อแมพันธุ์ปลาสวยงาม  เป็นการเลี้ยงไส้เดือนดินที่ให้ผลผลิตในภาชนะ  หรือพื้นที่ขนาดเล็ก

.

    

Leave a comment